เปิดไทม์ไลน์ คำตัดสินของศาล ชี้ “เขากระโดง” เป็นที่ดินของ รฟท.
กรณีพิพาทที่ดินเขากระโดงของการรถไฟแห่งประเทศไทย กับเอกชนที่ถือครองโฉนดในจังหวัดบุรีรัมย์ มีทีท่าจะเป็นมหากาพย์ต่อ เมื่อกรมที่ดินให้การรถไฟไปฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม หลังถูกร้องออกเอกสารสิทธิ์ผิดพลาดและให้เพิกถอน
-ปี 2554
ชาวบ้านที่ดิน ส.ค.1 จำนวน 35 ราย 40แปลง บนเขากระโดง ต้องการให้ กรมที่ดินออกเอกสารสิทธิแต่ในขั้นตอนการออกโฉนด รฟท.ค้านโดยตลอดว่าเป็นที่ดินของ รฟท.
-ผู้ขอออกโฉนดจึงยื่นฟ้องต่อศาล และ รฟท. ได้ฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาได้พิพากษาให้ที่ดิน 40แปลงนั้นเป็นของ รฟท.และคำวินิจฉัยของศาลฎีกาบอกว่าพื้นที่เขากระโดงทั้ง 5,083 ไร่เป็นของ รฟท.
• ปี 2556
ชาวบ้านจำนวน 1 รายที่มี น.ส. 3 ขอให้ออกโฉนด โดย รฟท. ได้มีการค้าน ผู้ขอออกโฉนดจึงยื่นฟ้อง ซึ่งรฟท. ได้ฟ้องแย้ง ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกาได้พิพากษาให้ที่ดินบางส่วนที่ออกทับที่รถไฟ เป็นที่ดินของ รฟท.และให้ขับไล่ชาวบ้านและชดใช้ค่าเสียหาย
-ปัจจุบันที่ดินดังกล่าว กรมที่ดินได้เปลี่ยนแปลงรูปที่ดินเป็นที่ของ รฟท. และชาวบ้านได้ออกจากที่ดิน รฟท. พร้อมทั้งชดใช้ค่าเสียหายแล้ว
• ปี 2561
การรถไฟฯ ฟ้องชาวบ้านจำนวน 4 ราย ให้เพิกถอนโฉนด 2 แปลง และ น.ส. 3 อีก 1 แปลง ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ พิพากษาให้เพิกถอนโฉนด จำนวน 2 แปลง และ ที่ดิน น.ส. 3จำนวน 1 แปลง ปัจจุบันกรมที่ดินได้เพิกถอนเอกสารสิทธิ์ทั้ง 3 แปลงแล้ว
• ปี 2564
รฟท. ฟ้องศาลปกครองว่ากรมที่ดินออกเอกสารสิทธิ ผิดพลาด ขอให้ดำเนินการเพิกถอน
• ปี 2566
‘ศาลปกครองกลาง’ สั่ง ‘อธิบดีกรมที่ดิน’ ตั้ง ‘คณะกรรมการสอบสวน’ ดำเนินการเพิกถอนเอกสารสิทธิที่ดิน 772 แปลง ที่ออกทับที่ดินรถไฟ ‘เขากระโดง’ ภายใน 15 วัน โดยดำเนินการตามมาตรา 61(2) ร่วมกับ รฟท. นำชี้เขตที่ดินรถไฟ
• วันที่ 21 ตุลาคม 2567
อธิบดีกรมที่ดิน มีหนังสือถึงการรถไฟฯ ยุติเรื่อง โดยแจ้งว่า รฟท. ไม่มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือได้ หากมีข้อมูลว่ามีสิทธิดีกว่า ก็ขอให้ไปฟ้องร้องต่อศาลยุติธรรม