ครั้งแรกปี68 'จันทร์ซ้อนจันทร์' ดาวอังคารใกล้โลกมากสุด96ล้านกม.
ความสวย ของพระจันทร์เต็มดวง คืนจันทร์ซ้อนจันทร์แรกปี2568 ตรงกับวันพระใหญ่ เมื่อ13ม.ค.2568 พร้อมปรากฏการณ์ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด 96 ล้านกิโลเมตร สามารถสังเกตได้จนถึง 16 ม.ค.2568
ความสวยงามของปรากฏการณ์พระจันทร์เต็มดวง คืนวันจันทร์ หรือ “วันจันทร์ซ้อนจันทร์” ครั้งแรกของปี 2568 ซึ่งตรงกับวันพระ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนยี่ (เดือนสอง) เมื่อวันที่ 13มกราคม 2568 พร้อมกับปรากฏการณ์ดาวอังคารโคจรใกล้โลกที่สุด ที่ระยะห่างประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร สามารถสังเกตได้จนถึงวันที่ 16 ม.ค. 2568
ภาพ โสภน สุเสนา (Sopon Susena)
#NationPhoto #พระจันทร์เต็มดวง #ดาวอังคารใกล้โลกที่สุด #ดวงจันทร์ #ดวงดาว
สถาบันวิจัยดาราศาตร์แห่งชาติ NARIT ชวนมาส่องดาวอังคารผ่านกล้องโทรทรรศน์ 5 จุดหลัก ณ อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร เชียงใหม่ และหอดูดาวภูมิภาค นครราชสีมา ขอนแก่น ฉะเชิงเทรา และสงขลา ตั้งแต่เวลา 18:00-22:00 น. ฟรี! และรับชมถ่ายทอดสดปรากฏการณ์ผ่านเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
สถาบันวิจัยดาราศาตร์แห่งชาติ (NARIT) ให้ข้อมูลว่า ช่วงวันที่ 12 - 16 มกราคม 2568 เป็นช่วงเวลาเหมาะสมในการสังเกตการณ์ดาวอังคารมากที่สุด เนื่องจากคืนวันที่ 12 มกราคม 2568 ดาวอังคารจะโคจรมาอยู่ตำแหน่งใกล้โลกที่สุด ที่ระยะห่างประมาณ 96 ล้านกิโลเมตร และหลังจากนั้นจะโคจรไปอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์วันที่ 16 มกราคม 2568
ช่วงดังกล่าวสามารถสังเกตดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนถึงดวงอาทิตย์ขึ้นในเช้าวันถัดไป หากสังเกตด้วยตาเปล่าจะเห็นดาวอังคารส่องสว่างประกายสีส้มแดงบนท้องฟ้า และเมื่อสังเกตการณ์ผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายตั้งแต่ 100 เท่าขึ้นไป จะเห็นพื้นน้ำแข็งสีขาวที่อยู่บริเวณขั้วของดาวอังคารได้
ทั้งนี้ ดาวอังคารไม่ได้เข้าใกล้โลกมากที่สุดในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์พอดีเหมือนดาวพฤหัสบดี หรือดาวเสาร์ เนื่องจากวงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรี จึงทำให้วันที่ดาวอังคารเข้าใกล้โลกมากที่สุดนั้นเคลื่อนไปจากวันที่ดาวอังคารอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์เล็กน้อย ซึ่งดาวอังคารจะเคลื่อนมาอยู่ในตำแหน่งนี้ทุก ๆ 26 เดือน และโคจรจะมาใกล้โลกในครั้งถัดไปวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2570