แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ในกทม. ลดลง แต่ยังอยู่ในเกณฑ์ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ กทม. เริ่มลดลง แต่โซนตะวันออกยังอ่วมอยู่ในระดับสีแดงเกือบหมด เตือนประชาชนยังต้องระวังสุขภาพ AirVisual ระบุมลพิษอันดับ 12 ของโลก
ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) ในกรุงเทพมหานคร ประจำวันที่ 25 มกราคม 2568 เวลา 07:00 น. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 73.4 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)
10 อันดับ ของค่าฝุ่นPM2.5 เขตสูงสุดในกรุงเทพมหานคร
1 เขตหนองจอก 93.6 มคก./ลบ.ม.
2 เขตมีนบุรี 91.8 มคก./ลบ.ม.
3 เขตคันนายาว 91.5 มคก./ลบ.ม.
4 เขตบางนา 89.9 มคก./ลบ.ม.
5 เขตคลองสามวา 89.7 มคก./ลบ.ม.
6 เขตหนองแขม 87.6 มคก./ลบ.ม.
7 เขตบึงกุ่ม 87.6 มคก./ลบ.ม.
8 เขตสะพานสูง 83.7 มคก./ลบ.ม.
9 เขตลาดกระบัง 83.7 มคก./ลบ.ม.
10 เขตวังทองหลาง 81.5 มคก./ลบ.ม.
ฝุ่นละอองมีแนวโน้มลดลง แต่ภาพรวม คุณภาพอากาศยังอยู่ในเกณฑ์เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ขณะที่แอป AirVisual รายงานค่ามลภาวะทางอากาศเช้าวันนี้อยู่ที่ 163 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทำให้ กทม. ถูกจัดให้เป็นเมืองที่มีค่ามลพิษเป็นอันดับ 12 ของโลก ซึ่งดีขึ้นจากช่วงเดียวกันของวานนี้เช่นกัน
ข้อแนะนำสุขภาพ:
คุณภาพอากาศระดับสีแดง: มีผลกระทบต่อสุขภาพ
ประชาชนทุกคน
▪️งดกิจกรรมกลางแจ้ง
▪️หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5
▪️หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
▪️ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ
▪️ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
▪️ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์