posttoday

นักวิ่ง 12,000 คนร่วมสร้างประวัติศาสตร์บน"สะพานทศมราชัน" (อัลบั้มภาพ)

26 มกราคม 2568

บันทึกความทรงจำครั้งสำคัญ! นักวิ่ง 12,000 คนร่วมกิจกรรม "สุขเต็มสิบ" บนสะพานทศมราชัน ก่อนเปิดใช้งาน 29 ม.ค.นี้ ท่ามกลางค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐาน 58.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

นักวิ่ง 12,000 คน สวมหน้ากากอนามัย ร่วมกิจกรรม สุขเต็มสิบ บนสะพานทศมราชัน ร่วมบันทึกความทรงจำโอกาสพิเศษเดียวในชีวิตนักวิ่ง และเตรียมเปิดใช้จริง 29 ม.ค.68 ขณะที่ค่าฝุ่นPM 2.5 เช้านี้ พบเกินมาตรฐานอยู่ที่ 58.1 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

วันนี้ (26 ม.ค. 2568) เวลา 05.00 น. ประชาชนกว่า 12,000 คน เข้าร่วมกิจกรรมเดิน-วิ่งลอยฟ้า “มหกรรมสุขเต็มสิบ” บนสะพานทศมราชัน โดยการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเปิดสะพานแห่งใหม่ล่าสุดของประเทศไทย ก่อนเปิดใช้งานจริงในวันที่ 29 ม.ค. 2568 โดยนักวิ่งที่เข้าเส้นชัย 200 แรกจะได้รับ “เหรียญที่ระลึกปี 2530” ซึ่งจัดทำขึ้นในปีที่สะพานพระราม 9 เปิดใช้งาน

สำหรับงานวิ่งเปิดสะพานพระราม 10 มีระยะทางวิ่ง 10 กิโลเมตร เริ่มเปิดให้ขึ้นบนสะพานตั้งแต่เวลา 03.00 น. ก่อนที่จะปล่อยตัวนักวิ่งเวลา 05.00 น. และจะปิดเส้นชัยเวลา 09.00 น.
นักวิ่ง 12,000 คนร่วมสร้างประวัติศาสตร์บน\"สะพานทศมราชัน\"  (อัลบั้มภาพ)

นายสุรเชษฐ์ เหล่าพูลสุข ผู้ว่าการ กทพ. กล่าวว่า ในนามการทางพิเศษฯ ขอขอบคุณประชาชนคนไทยทั่วประเทศ และชาวต่างชาติทุกท่าน ที่มาร่วมบันทึกความทรงจำในกิจกรรมเดิน-วิ่งลอยฟ้า มหกรรมสุขเต็มสิบ ถือเป็นโอกาสพิเศษเดียวในชีวิตนักวิ่ง กับสะพานทศมราชัน ซึ่งสะพานแห่งนี้ไม่ได้เป็นเพียงเส้นทางสัญจรที่เชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม แต่ยังเป็นสะพานแห่งพลังใจที่เชื่อมทุกคนสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่กับมหกรรมสุขเต็มสิบในครั้งนี้

นักวิ่ง 12,000 คนร่วมสร้างประวัติศาสตร์บน\"สะพานทศมราชัน\"  (อัลบั้มภาพ)

ส่วนความกังวลเรื่องฝุ่น PM 2.5 เบื้องต้นทางทีมงานรู้สึกกังวลว่าสถานการณ์ฝุ่นPM2.5 จะส่งผลกระทบกับการจัดกิจกรรม โดยได้มีการประเมินสถานการณ์แบบวันต่อวันและหากพบว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ส่งผลกระทบกับสุขภาพรุนแรงก็จะยกเลิกกิจกรรม แต่จากการติดตามและตรวจสอบข้อมูลที่ผ่านมาก็พบว่าวันนี้ค่าฝุ่นลดลงอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่อันตรายต่อสุขภาพการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจึงได้จัดกิจกรรม

แต่ก็ได้วางแนวทางเพื่อป้องกันผลกระทบจากฝุ่น PM 2.5 โดยมีการแจกหน้ากากป้องกันฝุ่นละออง ให้แก่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน รวมถึงมีการใช้รถน้ำฉีดน้ำ เพื่อลดฝุ่นละอองที่สะสมบนสะพาน พร้อมเตรียมทีมแพทย์และหน่วยปฐมพยาบาลประจำพื้นที่ เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจากฝุ่นละออง รวมถึงแจ้งกับผู้วิ่งว่า หากผู้ใดที่รู้สึกว่าร่างกายเริ่มได้รับผลกระทบด้านสุขภาพสามารถที่จะหยุดวิ่งก่อนครบระยะทาง 10 กม.ได้
นักวิ่ง 12,000 คนร่วมสร้างประวัติศาสตร์บน\"สะพานทศมราชัน\"  (อัลบั้มภาพ)

ทั้งนี้“สะพานทศมราชัน” อีกหนึ่งสัญลักษณ์แห่งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย โดยเป็นสะพานแห่งใหม่เชื่อมต่อโครงข่ายการคมนาคมระหว่างพื้นที่ชั้นนอกและชั้นในของกรุงเทพฯ จากฝั่งตะวันออกไปฝั่งตะวันตก มุ่งสู่ภาคใต้ รองรับการจราจรได้ 8 ช่องจราจร 

นักวิ่ง 12,000 คนร่วมสร้างประวัติศาสตร์บน\"สะพานทศมราชัน\"  (อัลบั้มภาพ)

ซึ่งจะช่วยบรรเทาปริมาณการจราจรของสะพานพระราม 9 และการเดินทางสู่ทางพิเศษเฉลิมมหานครและทางพิเศษศรีรัช ความพิเศษของสะพานทศมราชันเป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความกว้างที่สุดของประเทศไทยสะพานแห่งนี้สามารถรับแรงลมได้สูงถึง 270 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการก่อสร้างทางวิศวกรรมขั้นสูงและทันสมัยโดดเด่นด้วยสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานความเป็นไทยอันทรงคุณค่า

นักวิ่ง 12,000 คนร่วมสร้างประวัติศาสตร์บน\"สะพานทศมราชัน\"  (อัลบั้มภาพ)