เหตุใดชาวอินโดนีเซียจึงขุดศพบรรพบรุษขึ้นมาทุกๆปี?
วัฒนธรรมการแสดงออกถึงความรัก และความเคารพต่อบรรพบรุษผู้ล่วงลับของชาวโทราจา บนเกาะสุราเวสี ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชมทุกๆปี
วัฒนธรรมการแสดงออกถึงความรัก และความเคารพต่อบรรพบรุษผู้ล่วงลับของชาวโทราจา บนเกาะสุราเวสี ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาชมทุกๆปี
ชาวโทราจา ชาวอินโดนีเซียผู้อาศัยอยู่ทางตอนใต้ของเกาะสุราเวสี มีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ และค่อนข้างน่าสะพรึงกลัวในสายตาของคนนอกผู้ได้พบเห็น พิธีกรรมเหล่านี้เรียกว่า Ma’nene พวกเขาจะขุดศพของญาติที่เสียชีวิตไปแล้วขึ้นมา ทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนเสื้อผ้าให้ใหม่ ถ่ายภาพ จากนั้นก็ฝังญาติลงในหลุมศพเช่นเดิม พิธีการเหล่านี้เป็นการแสดงออกถึงความรักความผูกพันที่ชาวโทราตามีต่อบรรพบรุษ ตลอดๆจนความคาดหวังว่าพืชผลทางการเกษตรของพวกเขาจะออกผลผลิตที่งดงาม ด้วยความคุ้มครองจากวิญญาณของบรรพบรุษ
เกาะสุราเวสีเป็นหนึ่งในหมู่เกาะขนาดใหญ่ และสำคัญของอินโดนีเซีย ที่นี่มีจำนวนประชากรชาวโทราจาประมาณ 5 แสนคน ซึ่งประมาณ 80% ของพวกเขานั้นนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากชาวอินโดนีเซียที่กว่า 85% ของประเทศล้วนนับถืออิสลาม
อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมของชาวโทราจาสามารถผสมผสานกับศาสนาคริสต์ได้ดี พวกเขาให้ความสำคัญกับสิ่งที่เรียกว่า Aluk To Dolo ซึ่งเป็นแนวทางที่พวกเขาปฏิบัติต่อบรรพบรุษ หนึ่งในวิถีดังกล่าวก็คือ Ma’nene นั่นเองซึ่งมักจะเกิดขึ้นในช่วงเดือนสิงหาคมของทุกปี
Fyant Layuk เป็นชาวโทราจาแต่กำเนิด เขาเคยเข้าร่วมพิธีกรรมนี้มาแล้ว 2 ครั้ง แต่ไม่เคยได้มีส่วนร่วมโดยตรง ตัวเขาเล่าว่า เริ่มแรกครอบครัวจะขุดสมากชิกของพวกเขาขึ้นมาจากหลุมศพ พาร่างขงองผู้เสียชีวิตขึ้นมาจากโลง ทำความสะอาดร่างกาย หากพวกเขายังคงมีผมอยู่ก็จะถูกจัดแต่งให้เรียบร้อย โดยทุกกระบวนการนั้นถูกปฏิบัติด้วยความอ่อนน้อมเช่นเดียวกับตอนที่เขายังมีชีวิต
เมื่อทำความสะอาดแล้ว ศพจะถูกนำไปตากแดดให้แห้ง แต่งเนื้อแต่งตัว ก่อนที่จะพาพวกเขากลับเข้าไปในโลงอีกครั้ง ซึ่งบางครอบครัวก็จะจัดท่าทางดังตอนที่เขายังมีชีวิต และถ่ายภาพเป็นที่ระลึก
ด้าน Jean-Paul Rocle หัวหน้าฝ่ายจัดการงานศพของปารีสกล่าวว่าเขาค่อนข้างกังวลเกี่ยวกับสุขภาพของชาวเมือง เพราะพวกเขาอาจติดเชื้อจากเชื้อโรคที่สะสมอยู่ในร่างคนตายได้
บรรดาชาวโทราจามีกรรมวิธีการดอง และอนุรักษ์ศพเป็นอย่างดี ที่นี่ทุกศพจะถูกดองด้วยสมุนไพร (ในอดีต) หรือสารเคมีไม่ว่าครอบครัวจะมีแผนทำ Ma’nene หรือไม่ก็ตาม
ในสังคมของชาวโทราจางานศพถือได้ว่ามีความสำคัญ และมีราคาค่าใช้จ่ายแพงไม่ต่างจากการจัดงานแต่งงาน การจัดงานศพมีค่าใช้จ่ายประมาณ 68,256 ยูโร (ประมาณ 2 ล้าน 6 แสนบาท) ดังนั้นจึงต้องใช้เวลากว่าครอบครัวจะสามารถเก็บเงินในการจัดงานได้ ดังนั้นหากพวกเขามีเงินไม่พอ พวกเขาก็จะเก็บศพเอาไว้ที่บ้าน ซึ่งบางศพก็ถูกเก็บไว้เป็นเวลาหลายปีกว่าจะได้ฝังลงดิน
ไม่มี่ใครรู้ว่าธรรมเนียมนี้เกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อใด รู้กันเพียงว่าพวกเขาปฏิบัติตามกันมานานมาก พวกเขาใช้วิธีนี้ในการแสดงออกถึงความรักความเคารพที่มีต่อบรรพบรุษ ในขณะเดียวกันก็คาดหวังว่าบรรพบรุษจะปกป้องและช่วยให้ผลผลิตทางการเกษตรของพวกเขาดีขึ้น นั่นคือเหตุผลที่พิธีกรรมถูกจัดในเดือนสิงหาคม ซึ่งเป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยว และความคาดหวังก็มีไว้สำหรับการเกษตรในปีต่อไปแทน
ปัจจุบันชาวโทราจาส่วนใหญ่ไม่ได้ปฏิบัติพิธีกรรมนี้อีกแล้ว หรือหากทำก็ใช่ว่าจะทำทุกๆปี วัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์นี้ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนทุกๆปี เช่น กิตตินันท์ จิตรเอื้อกุล นักท่องเทีย่วจากกรุงเทพที่เพิ่งเดินทางไปชมพิธีกรรมนี้เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
เขาเล่าให้ฟังว่าความประทับใจเกิดขึ้นในตอนที่ครอบครัวๆหนึ่งรอให้บรรดานักท่องเที่ยวจากไป พวกเขาจึงเริ่มต้นเปลี่ยนเสื้อผ้าให้กับผู้ตาย เพราะพวกเขาต้องการความเป็นส่วนตัว ในขณะเดียวกันเขาก็ไม่เข้าใจพฤติกรรมของกลุ่มนักท่องเที่ยวประมาณ 20 คน พวกเขาหัวเราะ และส่งเสียงดังในระหว่างพิธีกรรม รวมถึงถ่ายรูปผู้ตายมากกว่าครอบครัวของชาวโทราจาเองเสียอีก
ขอขอบคุณ France24