รวมภาพประวัติศาสตร์ สุริยุปราคาวงแหวนพาดผ่านเอเชีย
โพสต์ทูเดย์รวบรวมภาพการเกิดคราสแบบต่างๆ รวมถึงบรรยากาศการชมปรากฎการณ์ธรรมชาติที่หาชมได้ยากนี้มาให้ชมกัน และเก็บบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์
วันที่ 26 ธันวาคม 2019 (พ.ศ. 2562) เกิดสุริยุปราคาแบบ “สุริยุปราคาวงแหวน” เริ่มต้นจากตะวันออกกลางแต่จะมองเห็นได้บางส่วน จนกระทั่งแนวคราสวงแหวนพาดผ่านประเทศอินเดีย ศรีลังกา สิงคโปร์ มาเลเซียอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งจะมองเห็นวงแหวนที่สวยงาม ส่วนประเทศไทยจะเห็นเป็น “สุริยุปราคาบางส่วน” เช่นเดียวกับตะวันออกกลางและเอเชียตอนเหนือ ในโอกาสนี้โพสต์ทูเดย์ได้รวบรวมภาพการเกิดคราสแบบต่างๆ รวมถึงบรรยากาศการชมปรากฎการณ์ธรรมชาติที่หาชมได้ยากนี้มาให้ชมกัน และเก็บบันทึกไว้เป็นประวัติศาสตร์
1. ภาพถ่ายโดย Sadiq ASYRAF / AFP
1. ภาพแสดงระยะการเกิดคราสขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์จนเกิดสุริยุปราคา ที่เห็นได้จากตันหยง ปิไอ ประเทศมาเลเซียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2019 (ภาพถ่ายโดย Sadiq ASYRAF / AFP)
2. ภาพถ่ายโดย Sadiq ASYRAF / AFP
2. ภาพขณะที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านดวงอาทิตย์จนเกิดลักษณะหัวแหวนของสุริยุปราคาวงแหวน ซึ่งเห็นได้จากตันหยง ปิไอ ประเทศมาเลเซียเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2019 (ภาพถ่ายโดย Sadiq ASYRAF / AFP)
3. ภาพถ่ายโดย Ferdinandh CABRERA / AFP
3. ภาพถ่ายสุริยุปราคาวงแหวน หรือ "ring of fire" ที่หาชมได้ยากและเกิดขึ้นได้ยาก ภาพนี้ถ่ายไว้ที่เกาะบาลุต จังหวัดซารักกานี ประเทศฟิลิปปินส์ (ภาพถ่ายโดย Ferdinandh CABRERA / AFP)
4. ภาพถ่ายโดย Arun SANKAR / AFP
4. ภาพถ่ายสุริยุปราคาวงแหวน หรือ "ring of fire" ถ่ายไว้ที่เมืองทินดิกุล ในรัฐทมิฬนาฑู ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มองเห็นสุริยุปราคาเกือบเต็มดวง (ภาพถ่ายโดย Arun SANKAR / AFP)
5. ภาพถ่ายโดย YASSER AL-ZAYYAT / AFP
5. ภาพขณะดวงจันทร์ผ่านดวงอาทิตย์จนเกิดคราสรูปเสี้ยวคล้ายดวงจันทร์เสี้ยวคว่ำลง มองเห็นได้ที่ชายหาดกรุงคูเวต ซิตี้ เมืองหลวงของประเทศคูเวต หนึ่งในจุดที่เกิดคราสแห่งแรกๆ ของคราวนี้
(ภาพถ่ายโดย YASSER AL-ZAYYAT / AFP)
6. ภาพถ่ายโดย YASSER AL-ZAYYAT / AFP
6. ภาพโคลสอัพดวงอาทิตย์ขณะถูกคราสกินที่เมืองคูเวตซิตี้ เป็นภาพทางดาราศาสตร์ที่สวยงามมาก (ภาพถ่ายโดย YASSER AL-ZAYYAT / AFP)
7. ภาพถ่ายโดย AAMIR QURESHI / AFP
7. เด็กสาวชาวปากีสถานใช้ฟิล์มเอ็กซ์เรย์เท้ามองผ่านดวงอาทิตย์ระหว่างการชมสุริยุปราคา ที่เมืองอิสลามาบัด (ภาพถ่ายโดย AAMIR QURESHI / AFP)
8. ภาพถ่ายโดย Rakesh Nagar / AFP
8. พระภิกษุชาวทิเบตในประเทศอินเดียร่วมกันชมสุริยุปราคา ที่เขตอาศัยของชาวทิเบตอพยพในเมืองเตคินกอปปา ในรัฐกรณาฏกะ ทางตอนใต้ของประเทศอินเดีย (ภาพถ่ายโดย Rakesh Nagar / AFP)
9. ภาพถ่ายโดย UNI KRISWANTO / AFP
9. ชาวมุสลิมอินโดนีเซียในเมืองสุราบายาทำละหมาด ขณะที่มีการถ่ายทอดสดการเกิดสุริยุปราคาในพื้นที่ดังกล่าว โดยกำลังก่อตัวเป็นคราสเกือบเต็มรูปวงแหวน (ภาพถ่ายโดย UNI KRISWANTO / AFP)
10. ภาพถ่ายโดย PRAKASH MATHEMA / AFP
10. หญิงชาวเนปาลที่นับถือศาสนาฮินดูต่างพากันลงไปอาบน้ำชำระล้างร่างกายที่ริมแม่น้ำตามความเชื่อทางศาสนา ระหว่างเกิดปรากฎการณ์สุริยุปราคา หรือสุริยคราส ซึ่งสามารถมองเห็นได้บางส่วนที่กรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวงของเนปาล ตามความเชื่อในศาสนาฮินดูสุริยุปราคาเกิดขึ้นจากราหูและพระเกตุกลืนกินดวงอาทิตย์ แต่นักวิทยาศาสตร์ชาวฮินดูแต่โบราณต่างก็ทราบมานานหลายร้อยปีแล้วว่าสุริยุปราคาเกิดจากดวงจันทร์โคจรมาบดบังดวงอาทิตย์ กระนั้นประชาชนทั่วไปก็ยังยึดถือความเชื่อเดิมเรื่องราหูกลืนตะวันว่าเป็นเรื่องที่ไม่เป็นมงคลเพราะหมายถึงความชั่วร้ายเอาชนะความดีงาม ความมืดเอาชนะแสงสว่าง จึงต้องพากันไปประกอบพิธีชำระล้างที่แม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ (ภาพถ่ายโดย PRAKASH MATHEMA / AFP)