Brownout เมื่อหมดใจแต่ไฟยังไม่หมด
เมื่อคนทำงานหมดใจ แต่ไฟยังแรงอยู่ เช็ก 4 สัญญาณเตือนภัยที่บอกว่าเราเข้าใกล้อาการ Brownout แล้วนะ
เมื่อคนทำงานหมดใจ แต่ไฟยังแรงอยู่ เช็ก 4 สัญญาณเตือนภัยที่บอกว่าเราเข้าใกล้อาการ Brownout แล้วนะ
การได้ทำงานที่เรารักก็ถือเป็นความโชคดีอย่างหนึ่งในชีวิต และยิ่งได้ทำงานกับองค์กรดีที่นั้นถือว่าเป็นโชคสองชั้นเลยทีเดียว ใช่ว่าเราทุกคนจะได้สัมผัสกับความสุขที่ทั้งได้ทำงานที่ชอบและองค์กรที่ดีแบบง่ายๆ กันล่ะ เพราะถึงจะเป็นงานที่เรารักมากขนาดไหนแต่หากต้องเจอกับองค์กรที่สร้างความกดดันมากๆ ก็อาจจะทำให้คนทำงานอย่างเราๆ เกิดอาการ Brownout ขึ้นได้ แล้ว Brownout คืออาการอะไระ? ต่างจาก Burnout ที่เรารู้จักหรือไม่?
Brownout เป็นภาวะอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นกับคนทำงานที่รู้สึกไม่มีความสุข เบื่อหน่าย และทุกข์ทรมานกับเงื่อนไขและระบบบางอย่างขององค์กร ซึ่งคนที่มีอาการ Brownout ยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ เพียงแต่ความผูกพันธ์ของพนักงานกับองค์กรจะค่อยๆ ลดน้อยลง เกิดการถอยห่างจนกระทั่งลาออกจากองค์อกรไปในที่สุด
ส่วน Burnout คือภาวะการหมดไฟ หดหู่ในการทำงาน และเฉยชาต่อทุกสิ่ง เป็นผลมาจากการทำงานที่หนักมากเกินไป ซึ่งมีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า พูดให้เข้าใจง่ายๆก็คือ Brownout เป็นเพียงอาการที่หมดใจในองค์กรแต่ยังมีไฟในการทำงาน แต่ Burnout คือการหมดใจกับทุกสิ่งในการทำงานนั้นเอง
4 สัญญาณเตือนภัยที่บอกว่าเราเข้าใกล้อาการ Brownout แล้วนะ
1.รู้สึกเหมือนโดนบังคับและกดดันอยู่ตลอดเวลา จนบางครั้งถึงขั้นมีอาการแพนิค
2.ไม่มีความสนใจในด้านอื่นๆ นอกจากเรื่องงาน รวมถึงความสามารถนอกเวลาการทำงานลดลง
3.พักผ่อนน้อยและไม่ดูแลตัวเองจนทำให้ร่างกายเกิดความเหนื่อยล้าและมีอาการป่วยทางกายในที่สุด
4.เกิดความบกพร่องทางความสัมพันธ์กับคนใกล้ตัวทั้งเพื่อน แฟน รวมถึงคนในครอบครัว
นอกจาก Brownout ไม่เพียงแต่สร้างผลกระทบให้กับตัวพนักงานแต่ยังสร้างผลกระทบไปถึงองค์กรด้วย เนื่องจากส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกับพนักงานที่มีความสามารถ เรียกได้ว่าเสียคนและเสียทั้งงานกันเลยทีเดียวเป็นแต่อย่างพึ่งกังวลไปเพราะอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นแบบชั่วคราวซึ่งสามารถเยียวยาและรักษาให้หายได้ หากองค์กรเปลี่ยนแปลงระบบเพื่อให้ตอบโจทย์กับพนักงาน
คริสติน่า ทอมป์สัน ผู้เชี่ยวชาญคอนเทนต์ด้านการตลาดของเว็บไซต์ Quantum Workplace ได้พูดถึงสาเหตุการลาออกของพนักงานที่มีความสามารถ ดังนี้
- รู้สึกล้มเหลวกับความท้าทาย ดาวเด่นในที่ทำงานส่วนใหญ่พวกเขาไม่ได้มองหางานที่ง่าย หรืองานที่เป็นแบบงานรูทีน แต่พวกเขาต้องการงานที่ท้าทายความสามารถเพื่อวัดความสามารถของตัวเอง ดังนั้นองค์กรจึงต้องถามถึงความต้องการเพื่อแมทงานหรือโปรเจ็กต์ให้เหมาะสม
- ต้องแบกภาระงานที่หนักอึ้ง เมื่อพนักงานทำงานออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ เจ้านายก็มักจะมอบหมายงานให้มากขึ้น เพราะเห็นว่าพวกเขามีความสามารถ ถึงแม้ว่าพวกเขาจะรับมือกับงานได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งที่เพิ่มความเหนื่อยล้าที่อาจจะนำไปสู่อาการเหนื่อยหน่ายใจในที่สุด
- ไม่มีจุดประสงค์ที่ชัดเจนกับพนักงาน หลายๆ องค์กรมักจะกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง หรือความต้องการที่อยากจะให้องค์กรเติบโตไปข้างหน้า พนักงานเก่งๆ หลายคนก็อยากจะใช้ความสามรถที่มีในการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมายที่องค์กรตั้งไว้ กลับต้องมาสะดุดเพราะองค์กรไม่ได้กำหนดจุดประสงค์ในการทำงานของพวกเขาให้ชัดเจนเท่าที่ควรจะเป็น
- การพัฒนาศักยภาพที่บกพร่อง ถึงแม่จะเป็นพนักงานที่มีความสามารถ พวกเขาก็ยังต้องการที่จะพัฒนาความสามารถของตนเอง ซึ่งการเพิ่มทักษะของพวกเขาอาจมาจากโปรเจ็กต์หรืองานที่เจ้านายมอบให้แต่พวกเขากลับไม่สามารถขอคำแนะนำหรือการถ่ายทอดงานจากพนักงานเก่าๆได้
จากปัญหาทั้ง 4 สาเหตุที่กล่าวมานี้ หลายๆ องค์กรมักเลือกใช้วิธี “เพิ่มเงิน” เมื่อมีพนักงานโบกมือลาองค์กรไป ซึ่งขอบอกเลยว่าวิธีนี้ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้เพราะเมื่อหมดใจอะไรก็รั้งไม่อยู่จริงๆ ทางออกที่ดี่สุดคือ การปรับเปลี่ยนตั้งแต่ระดับบริหาร ระดับการจัดการและระดับพนักงาน เพื่อพูดคุยถึงความต้องการในการทำงานรวมถึงความต้องการส่วนตัว เพื่อลดอาการหมดใจ เพิ่มไฟให้พนักงานมีกำลังใจในการทำงาน และสร้างความสัมพันธ์ของพนักงานกับองค์กรให้ดีมากยิ่งขึ้น เพราะพนักงานถือเป็นสมบัติล้ำค่าที่สุดขององค์กรที่จะช่วยขับเคลื่อนให้องค์กรเติบโตต่อไปได้
อ้างอิงจาก: Quantum Workplace
รูปภาพ : Pixabay