posttoday

Good Night, Sleep Tight ขอให้ลูกรักหลับฝันดี

29 เมษายน 2558

เชื่อหรือไม่ว่า... ความลับของพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยอยู่ที่การได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม?

เชื่อหรือไม่ว่า... ความลับของพัฒนาการทางสมองของลูกน้อยอยู่ที่การได้นอนหลับพักผ่อนอย่างเต็มอิ่ม?

เมื่อการนอนหลับของลูกรักไม่ใช่แค่การพักผ่อนทั่วไปเหมือนผู้ใหญ่ หากแต่เป็นช่วงเวลาสำคัญของสมองในการบันทึกประสบการณ์ที่เรียนรู้แต่ละวันสู่ความทรงจำระยะยาว และความสามารถในการจดจำสิ่งต่างๆ ได้ดีขึ้น1

การนอนหลับอย่างพอเพียงทั้งการนอนกลางวัน และหลับยาวในเวลากลางคืนของลูกรักจึงมีความสำคัญเทียบเท่ากับการปล่อยให้ลูกน้อยเรียนรู้สิ่งแวดล้อมล้อมรอบตัวเมื่อตื่นเพื่อช่วยให้ลูกรักมีพัฒนาการทางสมองที่ดี และเรียนรู้ได้ไวนอกจากนี้การให้นมแม่ก่อนนอน ยังช่วยให้ลูกรักนอนหลับปุ๋ย รีเฟรชสมองลูกรักให้สดชื่นขึ้น เพื่อจะเรียนรู้ รับความรู้ใหม่ได้อย่างเต็มที่เพราะนมแม่มีแอลฟา-แล็คตัลบูมิน เป็นตัวช่วยสำคัญ

จากผลการวิจัยของต่างประเทศในการวัดคลื่นสมองของลูกน้อยวัย 10-20 สัปดาห์พบว่า คลื่นสมองของลูกน้อยทำงานคล้ายคลึงกันมากระหว่างตื่นนอนและยามหลับ โดยเฉพาะการนอนหลับในเวลากลางคืนที่ลูกน้อยมีการเคลื่อนไหวร่างกายเฉลี่ย 24.4 นาทีภายในครึ่งชั่วโมงแรก เทียบกับช่วงเวลากลางคืนที่มีการเคลื่อนไหวเฉลี่ย 10.5 นาที สะท้อนชัดถึงความสำคัญของการนอนหลับที่ต่อเนื่องยาวนานที่ส่งผลโดยตรงช่วยให้ลูกน้อยพร้อมสำหรับการเรียนรู้ในช่วงตื่นเพื่อพัฒนาการทางสมองที่สมบูรณ์แบบเพราะหากพยายามให้เด็กทำกิจกรรมต่างๆ ในขณะที่เด็กยังพักผ่อนไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ การจดจำของเด็กๆ ไปจนถึงเป็นการปิดกั้นการสื่อสารระหว่างเซลล์สมองอีกด้วย

Good Night, Sleep Tight ขอให้ลูกรักหลับฝันดี

 

ทั้งนี้”นมแม่”มีความเกี่ยวข้องกับการส่งเสริมทำงานของสมองและช่วยการนอนหลับที่ยาวนาน โดยสะท้อนชัดในผลงานวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการนอนของลูกวัย 3 เดือนจำนวน 16 รายแบ่งเป็นกลุ่มที่ทานนมแม่ และกลุ่มที่ทานนมผสมระบุว่าลูกน้อยที่ทานนมแม่ใช้เวลาการนอนเพียง30นาที และนอนหลับได้นานกว่า2 หรือลดการตื่นบ่อยหากลูกได้ทานนมแม่ก่อนนอน

นั่นเพราะ “แอลฟา-แล็คตัลบูมิน” ในนมแม่เป็นโปรตีนคุณภาพสูงที่ย่อยง่าย และให้กรดอะมิโนจำเป็น ชื่อ “ทริปโตเฟน” ช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาสมอง ซึ่ง “ทริปโตเฟน” เป็นหนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นที่เป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาท คือ “เซราโตนิน” ซึ่งช่วยในการควบคุมการนอนหลับทำให้ร่นระยะเวลานอน และช่วยให้ทารกหลับเร็วขึ้น3 ขณะเดียวกันยังช่วยในกระบวนการเรียนรู้ พัฒนาสติปัญญา นอกจากนี้ นมแม่ ยังมีสารอาหารอื่นๆ ที่สำคัญสำหรับสมองอีก ได้แก่ ไอโอดีน ธาตุเหล็ก เป็นต้น

Good Night, Sleep Tight ขอให้ลูกรักหลับฝันดี

 

ในระหว่างที่ลูกนอนหลับ คุณพ่อคุณแม่ไม่สามารถเข้าไปช่วยในเรื่องการเรียนรู้หรือการพัฒนาสมองของลูกได้ สิ่งที่คุณพ่อคุณแม่สามารถทำให้ลูกน้อยได้ก็คือ การดูแลเอาใจใส่เรื่องโภชนาการที่เหมาะสมในช่วงเวลาที่ลูกตื่น เพื่อให้สมองลูกสามารถนำสารอาหารมาใช้ในช่วงเวลาแห่งการเรียนรู้ และทำให้ร่างกายแข็งแรง ซึ่งสารอาหารที่ช่วยเสริมสร้างสมองให้เรียนรู้และพัฒนาที่สำคัญ ได้แก่

ดีเอชเอ ลูทีน โคลีน สารอาหารที่มีบทบาทต่อการพัฒนาและเสริมสร้างการทำงานของสมอง ซึ่งลูกน้อยควรได้รับสารอาหารเหล่านี้ในชีวิตประจำวันเพื่อเสริมสร้างพัฒนาการและการทำงานของสมอง

ในวันนี้คุณพ่อคุณแม่สามารถสร้างศักยภาพทางสมองให้กับลูกน้อยได้ไม่ยาก เพียงแค่จัดเตรียมบรรยากาศการนอนที่เหมาะสม และเสริมด้วยสารอาหารที่เป็นประโยชน์ เช่นแอลฟา-แล็คตัลบูมินดีเอชเอ ลูทีนและโคลีนเพื่อพัฒนาการสมองของลูกรักที่สมบูรณ์แบบ

_____________________________________________________________________

1Tarullo AR, Balsam PD, and Fifer WP. Sleep and Infant Learning. Infant and Child Development 2011: 20; 35-46

2J. Cubero1, V. Valero1, J. Sánchez2, M. Rivero3, H. Parvez1, A. B. Rodríguez1 & C. Barriga, The circadian rhythm of tryptophan in breast milk affects the rhythms of 6-sulfatoxymelatonin and sleep in newborn 2005

3Steiberg LA, O’Connell NC, Hatch TF, Picciano MF, Birch LL. Tryptophan intakes influences infants’ sleep latency 1992. J. Nutr: 122(9); 1781-91

Advertorial