posttoday

สารพัด เรื่องคาใจ บนเครื่องบิน

09 พฤษภาคม 2558

ประเทศไทย “สอบตกมาตรฐานการกำกับดูแลสายการบิน” ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องน่าตกใจ

โดย...กองบรรณาธิการ

ประเทศไทย “สอบตกมาตรฐานการกำกับดูแลสายการบิน” ประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องน่าตกใจ สำหรับผู้เดินทางผ่านสายการบินต่างๆ เฉพาะที่ผ่านสนามบินสุวรรณภูมิ ที่มีไม่ต่ำกว่า 50 ล้านคน ในปี 2557 ที่ผ่านมา มาตรฐานที่ใช้ในการตรวจสอบความปลอดภัยด้านการบินนั้นมีกว่า1,000 ข้อ แต่ไทยทำได้แค่ 35% เท่านั้น

สำหรับการรับรู้ของคนทั่วไป การเดินทางโดยการใช้บริการเครื่องบินนั้น มีกฎเกณฑ์และข้อห้ามต่างๆ ซึ่งมากกว่าการเดินทางโดยพาหนะอื่น กฎเกณฑ์เหล่านั้นมีเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารและเจ้าหน้าที่บนเครื่อง อย่างไรก็ดีข้อห้ามบางข้อนั้นเราอาจจะร้กู ันแลว้วา่ มเี พือ่ อะไร เชน่ การหา้มพกพาอาวุธหรือของเล่นที่รูปร่างเหมือนจริงขึ้นบนเครื่องบิน เพราะป้องกันการจี้เครื่องบิน หรือ “Hijack”

แต่ยังมีอีกหลายกรณีที่เจ้าหน้าที่บอกให้เราทำ แต่ก็ไม่รู้ทำไปเพื่ออะไรหรือมีสาเหตุอย่างไร เช่น ทำไมต้องปรับเก้าอี้ตอนเครื่องขึ้นกับลง ทำไมห้ามเอาของเหลวขึ้นเครื่องเกิน 100ml ทำไมต้องปิดโทรศัพท์บนเครื่องบินเป็นต้น เรื่องเหล่านี้อาจจะเป็นเรื่องที่หลายคนมองไม่เห็นความสำคัญ หรือบางคนอาจจะสงสัยว่ามีผู้รักษาความปลอดภัยแบบลับๆ เพื่อรับมือกับการจี้เครื่องบินหรือเปล่า

ข้อสงสัยเหล่านี้แม้จะไม่ได้ช่วยอะไรมาก แต่ถ้าหากได้ทราบที่มาที่ไปของกฎเกณฑ์ต่างๆ แล้ว เราจะพบว่ากฎข้อบังคับที่แสนจุกจิกนี้มีเพื่อช่วยชีวิตเรา จึงควรให้ความสำคัญเป็นอย่างมากทีเดียว ต่อไปนี้ จะมาไขข้อข้องใจในข้อปฏิบัติเล็กๆ น้อยๆ บนเครื่องบิน

 

สารพัด เรื่องคาใจ บนเครื่องบิน

1. ทำไมต้องเปิดหน้าต่างตอนเครื่องขึ้นบินกับร่อนลง

เรื่องนี้อาจจะเป็นปัญหาคาใจหลายๆ คน ทำไมต้องให้เปิดหน้าต่างดว้ ย!? เพราะบางทีแสงแดดส่องเข้ามาทั้งร้อนและแยงตา ซึ่งชวนหงุดหงิดใจเหลือเกิน แต่รู้ไหมว่าการที่ให้เปิดหน้าต่างนั้นก็เป็นเพราะว่าต้องการให้ผู้โดยสารได้สังเกตภายนอกเครื่องบิน หากเกิดสิ่งที่ผิดปกติ เช่น มีควันไหม้ที่ปีก หรือมีสิ่งแปลกปลอมหลุดเข้าไปในเครื่อง เป็นที่แน่นอนว่าทางผู้โดยสารก็จะแจ้งโดยทันที เพราะในห้องกัปตันไม่สามารถมองเห็นปีกเครื่องบิน หรือบริเวณด้านข้างของเครื่องได้ อีกทั้งแอร์โฮสเตสอาจจะดูได้ไม่ทั่วถึง จึงจำเป็นต้องขอความร่วมมือจากผู้โดยสารช่วยสังเกตการณ์อีกแรงหนึ่ง เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่ไม่คาดฝันได้

 

สารพัด เรื่องคาใจ บนเครื่องบิน

2. ทำไมต้องปิดมือถือ

หลายคนอาจจะเข้าใจว่าการปิดมือถือนั้น อาจจะเป็นเพราะว่าสัญญาณจะไปรบกวนการทำงานของเครื่องหรือเปล่า แต่ความจริงคือเครื่องบินนั้นบินด้วยระบบนำร่อง โดยนักบินเองจะต้องมีการติดต่อสื่อสารกับทางหอบังคับการว่าจะมีการขึ้นตอนไหน จะบินเลี้ยวซ้ายหรือขวาดี หากมีผู้โดยสารใช้โทรศัพท์มือถือในขณะนั้น ก็จะทำให้สัญญาณโทรศัพท์มือถือเข้าไปรบกวนการสื่อสารระหว่างนักบินกับหอบังคับการ ซึ่งบางครั้งอาจจะทำให้การสื่อสารนั้นผิดพลาดก่อให้เกิดความเข้าใจผิด จนอาจจะนำมาซึ่งโศกนาฏกรรม เป็นต้นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทางสายการบินอยากให้ปิดมือถือจริงๆ ก็เพราะว่าในเครื่องบินจะมีการฉายภาพยนตร์สาธิตการปฏิบัติตนในกรณีฉุกเฉิน หากผู้โดยสารมัวแต่ก้มกดเล่นโทรศัพท์ ก็อาจจะทำให้พลาดการสาธิต และถ้าหากเกิดเหตุการณ์ไม่ขาดฝันจริงๆ ก็จะส่งผลให้ผู้โดยสารคนนั้นทำตัวไม่ถูกและอาจจะส่งผลเสียต่อผู้โดยสารส่วนใหญ่ก็เป็นได้

 

สารพัด เรื่องคาใจ บนเครื่องบิน

3. ปรับเบาะให้ตรงยามขึ้นเครื่องกับตอนเครื่องลงเพื่ออะไร?

เรื่องนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องที่คาใจหลายๆ คนว่าทำไมต้องปรับเบาะให้ตรงเวลาเครื่องขึ้นกับเครื่องลง ในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉิน จำเป็นต้องอพยพผู้โดยสารออกกะทันหัน หากเราเผลอปรับเบาะเอนเอาไว้ เบาะที่นั่งนั้นก็จะเป็นอุปสรรคของคนที่อยู่ด้านหลังเราทำให้เขาออกจากที่นั่งได้ยากลำบากขึ้น อีกทั้งในนาทีฉุกเฉินนั้น สติของผู้โดยสารนั้นย่อมไม่อยู่กับเนื้อกับตัวแน่ๆ ดังนั้นการปรับเบาะให้ตรงแต่เนิ่นๆ นั้นเป็นเรื่องที่จำเป็น เพื่อความปลอดภัยของคนรอบข้างเราด้วย

 

สารพัด เรื่องคาใจ บนเครื่องบิน

4. การจำกัดปริมาณของเหลวในการนำขึ้นเครื่อง

ในกฎข้อบังคับของการโดยสารเครื่องบินนั้น ได้กำหนดห้ามนำของเหลวขึ้นเครื่องเกิน 100 มิลลิลิตรไม่ว่าจะเป็นเจล ลิควิด โลชั่น เนื่องจากหากเกินกว่ากำหนดนั้น ของเหลวบางชนิดอาจจะเป็นสารตั้งต้นทำระเบิดได้ ซึ่งเคยเกิดกรณีดังกล่าวเมื่อนานมาแล้ว อีกทั้งการมีข้อกำหนดที่ว่าให้บรรจุของเหลวต่างๆ ลงในถุง Ziplock เนื่องจากกันของเหลวไหลออกมา และเป็นการจำกัดที่ว่าหากมีปริมาณเกินถุงแล้ว อาจจะถูกสงสยั ไดว้ า่ นำของเหลวไปทำ สารตั้งต้นระเบิดได้

 

สารพัด เรื่องคาใจ บนเครื่องบิน

5. ว่าด้วยเรื่องการก้มหัวยามเครื่องกระแทก

ในกรณีที่เครื่องเกิดการกระแทกนั้น ทางแอร์โฮสเตสจะทำ การตะโกนให้ผู้โดยสารทุกคนก้มหัวลง เนื่องจากเป็นการป้องกันไม่ให้หน้าอกของผู้โดยสารกระแทก และที่สำคัญคืออย่าลืมรัดเข็มขัดและเก็บโต๊ะที่อยู่ด้านหน้าเรา บางคนอาจจะเข้าใจว่าทำการฟุบบนโต๊ะได้ นั่นเป็นเรื่องที่ไม่ควร เพราะถ้าหน้าอกของเราไปกระแทกกับโต๊ะที่อยู่ด้านหน้าจนทำให้ปอดพัง เป็นที่แน่นอนว่าอาจจะส่งผลถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

สารพัด เรื่องคาใจ บนเครื่องบิน

6. ทำไมห้ามบรรทุกขึ้นเครื่องเกินกำหนด

ข้อกำหนดนี้เป็นการป้องกันในกรณีที่เครื่องบินเกิดการกระแทก หากกระเป๋าที่ผู้โดยสารมีน้ำหนักมากเกินกำหนด ก็จะทำให้ช่องเก็บของรับน้ำหนักและแรงกระแทกไม่ไหว และสัมภาระก็จะร่วงลงมา หากไปหล่นทับกระแทกผู้โดยสารหรือเจ้าหน้าที่ ก็อาจจะทำให้หัวแตกคอหัก หลังเดาะก็เป็นได้ดังนั้นการจำกัดน้ำหนักของกระเป๋าที่นำขึ้นห้องโดยสารจึงเป็นมาตรการอย่างหนึ่งที่หลายสายการบินให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

 

สารพัด เรื่องคาใจ บนเครื่องบิน

7. ไขปริศนาจากในหนัง

ยังมีอีกหลายความเชื่อต่างๆ บนเครื่องบิน ซึ่งบางครั้งเราจำมาจากการดูภาพยนตร์ อาทิ มีหลายคนเชื่อว่าในการบินแต่ละเที่ยวนั้น จะมีผู้เชี่ยวชาญในการปราบโจร หรือหน่วยรักษาความปลอดภัยลับแฝงตัวมากับผู้โดยสารด้วย เผื่อกรณีที่เกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้น พวกเขาจะทำการเข้าชาร์จและปราบผู้ร้ายอย่างเชี่ยวชาญ ซึ่งในความเป็นจริงนั้น กลับได้รับการยืนยันว่าไม่มีผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวแฝงตัวมากับผู้โดยสารแน่นอน เว้นเสียแต่ในกรณีที่มีนักโทษขึ้นมาในเครื่องบินด้วย ก็จะมีตำรวจและผู้ติดตามจำนวนหนึ่งขึ้นมาคุมนักโทษ

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการที่ไม่มีหน่วยรักษาความปลอดภัยแบบลับๆ ไม่ได้แปลว่าการจี้เครื่องบิน หรือ “Hijack” จะเป็นเรื่องที่ง่าย เพราะก่อนขึ้นเครื่องนั้นมีด่านตรวจหลายชั้น จึงเป็นไปได้ยากที่ผู้ร้ายจะพกอาวุธหรือระเบิดขึ้นมาได้ ดังนั้นหายกังวลในเรื่องนี้ได้เลย แต่ถ้าหากเกิดการ Hijack จริงๆทางแอร์โฮสเตสจะมีโค้ดลับบางอย่างกับกัปตัน ที่เมื่อพูดออกไปแล้วกัปตันและนักบินจะรู้ว่าเกิดการ Hijack ขึ้น จากนั้นทางนักบินเองจะล็อกห้องนักบินอย่างแน่นหนาไม่ให้ใครเข้าได้ และหาทางเอาเครื่องลงเป็นการด่วน

มีอีกตัวอย่างความเชื่อที่ว่า เบาะบางสายการบินนั้นสามารถดึงออกและนำไปลอยน้ำได้ เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ไม่จริง เนื่องจากใต้เบาะมีเสื้อชูชีพอยู่แล้วแต่เรื่องนี้ก็ยังมีคนเข้าใจผิดว่าหากกระตุกเสื้อชูชีพให้พองก่อนเดินออกจากที่นั่งจะทำให้เราสะดวกต่อการอพยพ ในความเป็นจริง การกระตุกเสื้อชูชีพให้พองก่อนจะทำ ให้เสื้อชูชีพนั้นคำ้ คอเรา สง่ ผลให้เคลื่อนไหวลำบากยามฉุกเฉินอาจจะทำให้เราหมดโอกาสที่จะรอดจากอุบัติเหตุได้ ดังนั้นควรจะกระตุกเสื้อชูชีพให้พองตอนจะกระโดดลงจากเครื่องเท่านั้น ซึ่งเรื่องนี้ส่วนใหญ่จะอยู่ในวิดีโอสาธิตการปฏิบัติตัวยามฉุกเฉินอยู่แล้ว

ส่วนเรื่องห้ามมีเพศสัมพันธ์ในห้องน้ำบนเครื่องบิน เรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับปฏิกิริยาของร่างกายกับสภาวะบนชั้นบรรยากาศแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องของการทำอนาจารในที่สาธารณะ ซึ่งไม่ว่าจะเป็นสายการบินไหนก็ห้ามอยู่แล้ว ถึงแม้ว่าบางประเทศจะเปิดให้มีเสรีภาพเรื่องนี้ก็ตามที อันนี้ก็เป็นเรื่องที่ไม่ควรอย่างจริงจังแน่นอน

 

สารพัด เรื่องคาใจ บนเครื่องบิน

จากใจกัปตัน

กัปตัน สนอง มิ่งเจริญ นายกสมาคมนักบินไทย กล่าวว่า ข้อปฏิบัติเล็กๆ นอ้ ยๆ บนเครื่องบินนั้น มีขึ้นเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นการเปิดหน้าต่างเครื่องบินทุกครั้งเมื่อกัปตันนำเครื่องขึ้น หรือลง ถือเป็นมาตรการรักษาความปลอดภัยให้กับผู้โดยสาร กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินขึ้นทั้งในและนอกเครื่องบิน ผู้โดยสารจะสามารถมองเห็นเหตุการณ์และขอความช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที เพราะจังหวะการนำเครื่องขึ้นและลง ถือว่ามีความเสี่ยงสูงสุดในการโดยสารทางอากาศ

ขณะที่การปิดมือถือเมื่ออยู่บนเครื่องบินนั้น เพราะเครื่องบินมีระบบสัญญาณการสื่อสารทางวิทยุ อิเล็กทรอนิกส์ หากเปิดสัญญาณโทรศัพท์ อาจรบกวนต่อสัญญาณการสื่อสารได้ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีผลการวิจัยจากที่ใดยืนยันได้ว่าสัญญาณของคลื่นโทรศัพท์ จะเป็นสาเหตุการรบกวนระบบการสื่อสารจนส่งผลให้เครื่องบินตกได้

กัปตันสนอง กล่าวว่า สำหรับการปรับเบาะนั่งตรงก่อนเครื่องขึ้นลง จะทำให้สายเข็มขัดรัดตัวผู้โดยสารมีความพอดีกับเบาะไม่เหลือพื้นที่ว่างไว้ กรณีเกิดเหตุฉุกเฉินเครื่องบินกระแทก หรืออุบัติเหตุอื่นๆ ตัวผู้โดยสารจะไม่กลิ้งตกจากเบาะที่นั่ง เช่นเดียวกับการก้มหัวยามเครื่องบินกระแทก ถือเป็นท่าที่มีการศึกษาว่าเป็นท่าการป้องกันตัวให้ลดแรงกระแทกที่ปลอดภัยและได้ผลสูงสุด กรณีเกิดเหตุกระแทกตกหลุมอากาศเกิดขึ้น

สำหรับน้ำหนักในการบรรทุกนั้น จะมีผลต่อความเร็วของเครื่องบิน สายการบินแต่ละแห่งจะมีวิธีการคำนวณน้ำหนักตัวผู้โดยสารสัมภาระในการขึ้นเครื่องบินให้เหมาะสมกับการดำ เนินธุรกจิของตัวเอง การจำ กัดน้ำหนักให้กับผู้โดยสาร เพื่อไม่ให้แต่ละคนขนน้ำหนักบรรทุกสัมภาระเกินกว่าที่ตั้งไว้ หากไม่มีการกำหนด เชื่อว่าจะมีการขนสัมภาระสูงมาก ซึ่งจะกระทบต่อความเร็วของเครื่องบิน

“เรื่องสายลับนั้น ประเทศไทยยังไม่มีงบประมาณสำหรับตำรวจหรือเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยบนเครื่องคอยดูแลในเรื่องดังกล่าว ส่วนประเทศอื่นมีหรือไม่นั้นยังไม่เป็นที่กำหนดอย่างแน่ชัด เพราะส่งผลต่อที่นั่งโดยสาร ส่วนการอำนวยความปลอดภัยถือเป็นหน้าที่ของแอร์โฮสเตส รวมถึงอำนาจการตัดสินใจต่างๆ จะเป็นหน้าที่ของกัปตันที่ขับเครื่องบินเที่ยวบินเป็นผุู้รับผิดชอบการตัดสินใจ แต่อาจมีบ้างบางกรณีที่มีการขนย้ายนักโทษข้ามประเทศ อาจมีเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือหน่วยรักษาความปลอดภัยประกบเพื่อส่งคนร้ายข้ามแดน” กัปตันสนอง กล่าว

แอร์โฮสเตส-สจ๊วดผู้รักษาความปลอดภัย

ในความเข้าใจของคนไทยหลายคนคงคิดว่า อาชีพนี้เป็นเพียงแค่อาชีพเด็กเสิร์ฟและบริการเท่านั้น ที่อาศัยเพียงทักษะด้านบริการ ภาษาที่แข็งแรง และฝึกให้มีอารมณ์ที่ใจเย็นรองรับกับผู้โดยสารหลากหลายอารมณ์เท่านั้น แต่ในความเป็นจริงแล้ว พวกเขาเหล่านี้ไม่ได้เป็นแค่พนักงานบริการ แต่หากเป็นผู้รักษาความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคนด้วย

ในแต่ละปีนั้นพวกเขาจะต้องได้รับการฝึกเพื่อเตรียมรับกับสถานการณ์ฉุกเฉินหลายรูปแบบถึงปีละ 1 ครั้ง ซึ่งในการอบรมแต่ละครั้งนั้นจะมี 3 วันโดยประมาณ มีเนื้อหาตั้งแต่การคุมฝูงชน ยามเกิดความโกลาหล การตัดสินใจอพยพ การช่วยปฐมพยาบาลและช่วยเหลือชีวิตของผู้โดยสาร แม้กระทั่งในกรณีที่ผู้โดยสารหัวใจวายเฉียบพลัน โดยคติที่พวกเขาและเธอยึดถือมั่นในทุกสายการบินก็คือ ผู้โดยสารทุกคนจะต้องปลอดภัยเมื่ออยู่ในการดูแลของเรา ดังนั้นการให้เกียรติและเชื่อฟังพวกเขาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ

เรื่องของข้อปฏิบัติและข้อกำหนดที่กล่าวมาข้างต้นแม้จะเป็นเพียงแค่เรื่องเล็กๆ แต่ก็เป็นสิ่งที่ละเลยไม่ได้เลย เนื่องจากการขึ้นโดยสารเครื่องบินนั้น หากเกิดข้อผิดพลาดเพียงครั้งเดียว เราอาจจะไม่มีโอกาสให้แก้ตัวเป็นครั้งที่สอง แม้ว่าบางข้อกำหนดอาจจะทำ ให้เราอึดอัดใจ แตถ่ ้ายอมอดทนทำ ตามสักนิดเพื่อส่วนรวม การเดินทางถึงจุดหมายด้วยความปลอดภัยคงไม่ใช่เรื่องที่ห่างไกลแน่นอน