posttoday

ทำไม เวลามาหาหมอจีนต้อง ‘แมะ’? ตอนที่ 1

07 พฤศจิกายน 2558

หลายคนที่มาหาหมอจีนอาจมีข้อสงสัยว่าทำไมเวลามาหาหมอจีนจะต้องแมะที่ข้อมือด้วย

โดย...พจ.อรกช มหาดิลกรัตน์ คลินิกหัวเฉียวไทย-จีน แพทย์แผนจีน

หลายคนที่มาหาหมอจีนอาจมีข้อสงสัยว่าทำไมเวลามาหาหมอจีนจะต้องแมะที่ข้อมือด้วย

บางคนอาจจะตั้งคำถามในใจว่า “คุณหมอฟังชีพจรเพื่ออะไร?” “ชีพจรสองข้างนี่มันเหมือนกันหรือเปล่า?” “แมะแล้วบอกได้เลยหรือว่าเป็นโรคอะไร?” “น่าเชื่อถือหรือเปล่า?” เพียงแค่จับข้อมือก็รู้เลยหรือ?”

“การแมะ” แท้จริงแล้วเป็นอย่างไรนั้น จะมาอธิบายให้ฟังกันนะคะ

“แมะ หรือ พะแมะ” ในภาษาจีนกลางก็ คือ ม่าย&O5288;&&3033;&O5289;มาจากคำว่า ป่าม่าย&O5288;&>5226;&&3033;&O5289;หรือ เชียะม่าย&O5288;&>0999;&&3033;&O5289;ซึ่งก็หมายถึงการจับชีพจรในศาสตร์การแพทย์แผนจีน เป็นหนึ่งในวิธีการเพื่อวินิจฉัยโรคและกลุ่มอาการ โดยที่ชีพจรจะสะท้อนให้เห็นถึงสภาพร่างกายของผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ ชีพจรเกิดขึ้นได้อย่างไร ในทางแพทย์จีนกล่าวว่าชีพจรเกิดจากการเต้นของหัวใจ ซึ่งอาศัยการทำงานของหยางหัวใจและชี่หัวใจ โดยมีเลือดและอินหัวใจเป็นองค์ประกอบ นอกจากนี้ยังต้องมีอวัยวะปอดเป็นตัวผลักดัน เกี่ยวข้องกับอวัยวะม้ามซึ่งควบคุมเลือดให้ไหลเวียนอยู่ภายในเส้นเลือด อวัยวะตับเป็นแหล่งกักเก็บเลือด อวัยวะไตเป็นแหล่งกักเก็บสารจิงซึ่งเป็นสารจำเป็นในร่างกายสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเลือดได้ ดังนั้น เมื่ออวัยวะต่างๆ ทำงานไม่ปกติ หรือเลือดและลมปราณมีไม่เพียงพอ หรือไหลเวียนไม่สะดวก ถึงแม้ว่าเราจะไม่ได้รู้สึกว่าไม่สบายอะไรสักเท่าไหร่ หรือรู้สึกไม่สบายแต่ไปโรงพยาบาลตรวจร่างกายแล้วไม่พบปัญหาอะไร แต่ว่ามันสามารถสะท้อนออกมาได้ในชีพจร หรือที่เรียกว่า “ชีพจรป่วยแต่คนยังไม่ป่วย&O5288;&&3033;&&0149;&>0154;&<9981;&&0149;&O5289;” นี่แหละคือเสน่ห์ของศาสตร์แพทย์จีน ทำให้เราสามารถรับรู้ว่าตอนนี้เรามีความผิดปกติอย่างไร และสามารถป้องกันและดูแลตัวเองได้ก่อนที่อาการป่วยหนักจะเกิด

การแมะเป็นการอาศัยความรู้สึกโดยการสัมผัสลักษณะการเต้นของชีพจร โดยที่ชีพจรในแต่ละตำแหน่งจะแตกต่างกันออกไป ซึ่งจะบ่งบอกถึงพลังของแต่ละอวัยวะ โดยในการแมะคุณหมอจะใช้นิ้วมือทั้งสามนิ้ว (นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง) สัมผัสบริเวณใต้ข้อมือฝั่งนิ้วโป้ง โดยใช้นิ้วกลางสัมผัสบริเวณปุ่มกระดูกนูนด้านในเป็นตำแหน่ง “กวน&O5288;&>0851;” ก่อนจากนั้นนิ้วชี้อยู่เหนือกวน เป็นตำแหน่ง “ชุ่น&O5288;&>3544;&O5289;” และนิ้วนางอยู่ใต้กวนเป็นตำแหน่ง “ฉื่อ&O5288;&>3610;” สามนิ้วเรียงติดกันความห่างให้พอเหมาะกับแต่ละบุคคล เช่น คนอ้วน แขนยาวใหญ่ อาจจะห่างนิดนึง เป็นต้น นอกจากนี้การจับชีพจรที่ข้อมือซ้ายกับขวาก็มีความหมายแตกต่างกันไปอีก ด้านขวาจะหมายถึง ตำแหน่งชุ่น = ปอด ตำแหน่งกวน = ม้าม ตำแหน่งฉื่อ = ไต (มิ่งเหมิน) ส่วนด้านซ้ายจะหมายถึง ตำแหน่งชุ่น = หัวใจ ตำแหน่งกวน = ตับ ตำแหน่งฉื่อ = ไตหยิน

เทคนิคในการจับชีพจรจริงๆ แล้วยังมีการวิเคราะห์อีกหลายวิธีด้วยกัน แต่สำหรับในที่นี้จะพูดถึงวิธีง่ายๆ และใช้กันทั่วไป เป็นพื้นฐานในการจับชีพจรและวินิจฉัยโรคและกลุ่มอาการ

ตำแหน่ง ด้านซ้าย ด้านขวา

ชุ่น&O5288;&>3544;&O5289;หัวใจ (ลำไส้เล็ก) ปอด (ลำไส้ใหญ่)

กวน&O5288;&>0851;&O5289;ตับ (ถุงน้ำดี) ม้าม (กระเพาะ)

ฉื่อ&O5288;&>3610;&O5289;ไตอิน (กระเพาะปัสสาวะ) ไตหยาง(มิ่งเหมิน)

เมื่อคุณหมอจับชีพจรแล้วสิ่งที่จะพิจารณา ได้แก่ ระดับการแมะ (อยู่ตื้น(ชีพจรลอย)-ลึก(ชีพจรจม)) จังหวะการเต้น (เร็ว-ช้า สม่ำเสอหรือไม่) ลักษณะของชีพจร (ชีพจรใหญ่-เล็ก นุ่ม-แข็งตึง) ลักษณะการเต้น (มีแรงหรืออ่อนแรงการลื่นไหลไม่มีสะดุดหรือไม่) โดยชีพจรของคนปกติจะเรียกว่า “ผิงม่าย&O5288;&>4179;&&3033;&O5289;” คือ ชีพจรจะไม่ลอยไม่จม เต้นสม่ำเสมอ ไม่เล็กไม่ใหญ่ ไม่แรงไม่อ่อน แต่ทั้งนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันไปตามอายุ เพศ ฤดูกาล ลักษณะรูปร่าง เช่น คนผอมชีพจรมักลอยหรืออยู่ตื้น คนอ้วนชีพจรมักจม แต่ถ้าหากพบชีพจรในทางกลับกันแสดงว่ามีความผิดปกติในร่างกายเกิดขึ้นแล้ว

ลักษณะการเต้นของชีพจรในทางแพทย์จีนมีระบุไว้ 28 ชนิดด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ชีพจรแบบฝูม่าย&O5288;&>8014;&&3033;)หรือชีพจรลอย ซึ่งจะมีลักษณะเหมือนท่อนไม้ลอยอยู่ผิวน้ำ เวลากดจะจมเล็กน้อย ลักษณะชีพจรเช่นนี้มักพบได้ในผู้ป่วยไข้หวัดหรือบ่งบอกถึงอาการเปี่ยวปัจจัยเสียก่อโรคยังอยู่ภายนอกยังไม่เข้าสู่อวัยวะภายใน ชีพจรแบบเสียนม่าย&O5288;&>4358;&&3033;&O5289;หรือที่มักได้ยินคุณหมอบอกว่าชีพจรตึงนั่นเอง ชีพจรนี้เวลาจับจะรู้สึกเป็นเส้นยาว และตึงคล้ายกับเวลากดสายพิณ ใครบ้างที่จะมีลักษณะชีพจรแบบนี้ โดยมากมักจะมีปัญหาในเรื่องตับ ในทางแพทย์จีนบอกว่าอาจจะมีลมปราณตับเกิดการติดขัด โดยมากมักจะพบว่ามีความเครียด ความดันสูงร่วมด้วย หรืออาจจะพบในผู้ที่มีอาการเจ็บปวด ถ้าหากว่าตึงด้วยเต้นเร็วด้วย แสดงว่านอกจากจะมีลมปราณตับติดขัดแล้ว อาจสะสมเป็นเวลานานจนทำให้เกิดไฟลุกโหมอยู่ภายใน หรืออาจจะเคยได้ยินคุณหมอบอกว่า “ตับร้อน” นั่นเอง แต่ถ้าชีพจรตึงแต่เป็นลักษณะเส้นเล็กๆ ก็แสดงถึงลมปราณตับติดขัดร่วมกับมีเลือดพร่อง หรือมีตับและไตอินพร่อง เป็นต้น

นอกจากนี้การแมะยังมีส่วนเฉพาะสำหรับเด็กเล็กๆ อีกด้วย เด็กบางคนหรือพ่อแม่อาจจะสงสัยกันว่าทำไมผู้ใหญ่จับชีพจรที่ข้อมือ แล้วเด็กเล็กๆ ดูอะไรกันที่นิ้ว การดูร่องรอยที่นิ้ว เป็นการดูเส้นเลือดเล็กๆ ที่อยู่บริเวณนิ้วชี้บริเวณนอกโดยหงายฝ่ามือ มักจะใช้ดูในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 3 ขวบ เนื่องจากชีพจรบริเวณข้อมือค่อนข้างเล็กจับได้ยาก โดยจะมีการแบ่งตำแหน่งออกเป็น ข้อแรกสุดเป็นเฟิงกวน&O5288;&&9118;&>0851;&O5289;ข้อถัดขึ้นไปเป็นชี่กวน&O5288;&>7668;&>0851;&O5289;และข้อนิ้วสุดท้ายเป็นมิ่งกวน&O5288;&>1629;&>0851;&O5289;ซึ่งแต่ละระดับจะบ่งบอกได้ถึงอาการหนัก-เบาของโรค ปัจจัยเสียก่อโรคยังอยู่ภายนอกหรือเข้าลึกสู่อวัยวะภายใน นอกจากนี้สีของเส้นเลือดที่นิ้วยังบ่งบอกได้ถึงว่ามีอาการร้อน-เย็น พร่อง-แกร่ง มีเสมหะอุดกั้น เลือดไหลเวียนไม่ดี เช่น สีแดงสดหมายถึงมีความเย็น สีแดงม่วงหมายถึงมีความร้อน สีอ่อนหมายถึงอาการพร่อง เป็นต้น

เคยได้ยินหลายคนบอกว่าแมะแล้วรู้ว่าเป็นมะเร็ง มีเนื้องอกตรงนั้นตรงนี้ จริงหรือไม่ ประเด็นนี้หลายๆ คนค่อนข้างเชื่อได้ยาก ผู้ป่วยมะเร็งนั้นพื้นฐานเดิมมีความซับซ้อนของโรคและกลไกการเกิด การดำเนินโรคแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล แต่ละระยะของโรคก็มีความแตกต่างกันไป และผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่ที่มาหาหมอจีนมักจะผ่านการรักษาสารพัดอย่างมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นชีพจรที่ปรากฏก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยอีกเช่นกัน ในความเป็นจริงแล้วในทางศาสตร์การแพทย์แผนจีนในอดีตไม่ได้มีการระบุถึงโรคมะเร็งแต่อย่างใด แต่สามารถจะบอกได้ว่าอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเราทำงานปกติหรือไม่ เลือดและลมปราณเพียงพอ และไหลเวียนสะดวกติดขัดหรือไม่ อินและหยางในร่างกายสมดุลหรือไม่ มีเสมหะหรือปัจจัยเสียก่อโรคอยู่ภายในร่างกายหรือไม่ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้แหละถ้าหากไม่ป้องกันรักษา ปล่อยทิ้งไว้นานวันเข้าก็จะทำให้มีโรคต่างๆ ตามมาได้ ไม่เพียงแต่โรคมะเร็ง ซึ่งทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ยาวนานของคุณหมอ มีความชำนาญในการวิเคราะห์โรคด้วย จึงจะประเมินอาการล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำถูกต้อง แต่ในตำราแพทย์จีนในอดีตก็มีบันทึกไว้อยู่เหมือนกันที่อาจจะคล้ายคลึงกับโรคมะเร็งอย่างในสมัยราชวงศ์ชิงมีหมอท่านหนึ่งชื่อว่า “หวงหยวนยวู่ &*0644;&>0803;&>4481;” เขียนไว้ในตำรา “จินคุ่ยเสวียนเจี่ย”&<2298;&&7329;&>1294;&>4748;&&5299;&<2299;ในบท “จีจู้ย&O5288;&&1215;&&2858;&O5289;หรืออาการสะสมหมักหมมจนเกิดเป็นก้อนขึ้นมาในร่างกาย” ได้กล่าวถึงชีพจรที่มีลักษณะเป็นเส้นเล็ก และคล้ายกับมีตุ่มกระดูกโผล่ขึ้นมา ลักษณะเช่นนี้แสดงว่ามีอาการ “จีจู้ย” หรือบางท่านอาจเคยได้ยินในแพทย์จีนยุคใหม่ๆ บอกว่าชีพจรคล้ายกับมีเม็ดถั่วเขียวนั่นเอง

หวังว่าจะทำให้หลายๆ ท่านไขข้อข้องใจกันแล้วนะคะว่าหมอจีน “แมะ” กันทำไม บ่งบอกอะไรได้บ้าง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น การแมะ&O5288;&>0999; เชียะ&O5289;เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งที่ใช้ร่วมในการวินิจฉัยโรคและกลุ่มอาการเท่านั้น ยังต้องอาศัยร่วมกับการมอง&O5288;&>6395;ว่าง&O5289;การดมหรือฟัง&O5288;&&8395;เหวิน&O5289;และการซักถามประวัติอาการ&O5288;&&8382; เวิ่น&O5289;หรือที่เรียกว่า “วิธีการตรวจวินิจฉัยโรค 4 ประการ” (ซื่อเจิ่น&O5292;&>2235;&&5786;&O5306;&>6395;&&8395;&&8382;&>0999;) แพทย์แผนจีนเป็นการมองภาพในองค์รวม ดังนั้น การวินิจฉัยวิเคราะห์โรคและกลุ่มอาการจะแม่นยำหรือหรือไม่นั้นต้องอาศัยทั้ง 4 อย่างนี้ประกอบกัน ไม่ใช่ว่าใช้วิธีอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น อีกทั้งยังต้องอาศัยความรู้แนวคิดและหลักการของศาสตร์การแพทย์แผนจีนด้วย เพื่อวิเคราะห์กลไกการเกิดโรค สภาพพื้นฐานร่างกายของผู้ป่วยว่าจัดอยู่ในกลุ่มอาการใด จากนั้นจึงจะสามารถเลือกวิธีการรักษาหรือตำรับที่เหมาะสมและถูกต้องได้