สร้างจุดทิ้งขยะอันตรายในกทม.เพิ่มเกือบ 4,000 แห่ง
รัฐร่วมเอกชน สร้างจุดทิ้งขยะอันตรายใน กทม.เพิ่มขึ้น เกือบ 4,000 แห่ง
รัฐร่วมเอกชน สร้างจุดทิ้งขยะอันตรายใน กทม.เพิ่มขึ้น เกือบ 4,000 แห่ง
โครงการ“ประชารัฐร่วมใจ แยกทิ้งขยะอันตราย”ภาครัฐร่วมเอกชนสร้างจุดรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนในพื้นที่ กทม. เพิ่มขึ้นจำนวน 3,815 แห่ง อำนวยความสะดวกให้ประชาชนในการแยกทิ้งของเสียอันตรายจากชุมชน เพื่อนำไปจัดการอย่างถูกวิธี ป้องกันผลต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม
นางสุณี ปิยะพันธุ์พงศ์ อธิบดีกรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า ขยะอันตรายจากบ้านเรือนและชุมชน ซึ่งเป็นของเสียของเหลือใช้ที่เสื่อมสภาพ และภาชนะบรรจุจากผลิตภัณฑ์ที่มีหรือปนเปื้อนด้วยสารอันตรายประเภทต่างๆ ทั้งสารพิษ สารกัดกร่อน สารไวไฟ เป็นต้น ปริมาณของเสียอันตรายจากชุมชนประมาณ 618,749 ตัน เป็นซากผลิตภัณฑ์เครืองใช้ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิคก์ ร้อยละ 65 ของเสียอันตรายจากชุมชนประเภทอื่นๆ ร้อยละ 35 โดยแต่ละคนก่อให้เกิด ของเสียอันตราย 7.1 กิโลกรัมต่อคนต่อปี โดย กทม.มีปริมาณของเสียอันตรายประมาณ 29 ตันต่อวัน ปี 2560 จัดเก็บรวบรวมได้ 993 ตัน ของเสียที่เกิดขึ้นดังกล่าว ถูกทิ้งปะปนไปกับขยะมูลฝอยทั่วไปและทำให้เกิดปัญหากับสุขภาพและสิ่งแวดล้อมการทิ้งลงพื้นดิน ทิ้งรวมกับขยะมูลฝอยทั่วไปทิ้งลงท่อระบายน้ำหรือเผา จะทำให้เราได้รับสารอันตรายเข้าสู่ร่ายกายได้ทั้งทางตรงโดยการสัมผัสทางผิวหนัง การหายใจรับไอระเหย และการกินอาหารที่ปนเปื้อน เป็นต้น และทางอ้อม โดยสารพิษที่มีอยู่ในของเสียอันตรายจะแพร่กระจายและสะสมอยู่ในสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหารจนในที่สุดกลับมาสู่ตัวเราได้
นางสุณี กล่าว่า โครงการประชารัฐร่วมใจ แยกทิ้งขยะอันตราย ที่ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2560 เป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน เช่น ศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ปั้มน้ำมัน ร้านสะดวกซื้อ เป็นต้น มีเป้าหมายในการเพิ่มช่องทางอำนวยความสะดวกให้ประชาชนในพื้นที่ กทม. สามารถแยกทิ้งของเสียอันตรายจากชุมชน ซึ่งนำร่อง 5 ประเภท ได้แก่ แบตเตอรี่มือถือ ซากโทรศัพท์มือถือ ถ่านไฟฉาย หลอดฟูออเรสเซนต์ และภาชนะปนเปื้อนที่เป็นอันตราย อาทิ กระป๋องสเปรย์ สามารถนำไปทิ้งได้ที่จุดทิ้งของเสียอันตราย เพื่อให้ กทม.เก็บรวบรวมนำไปกำจัดอย่างถูกต้อง โดยมีจุดรวบรวมของเสียอันตรายจากชุมชนใน กทม เพิ่มขึ้นจำนวน 3,815 แห่ง และมีแผนงานขยายครอบคลุมพื้นที่ต่างจังหวัดในปีต่อไป ซึ่งผู้ที่ประสงค์จะทิ้งขยะอันตราย สามารถนำไปทิ้งได้ ณ จุดทิ้งของเสียอันตรายที่กำหนดและจุดที่มีสัญลักษณ์โครงการ สามารถเข้าไปตรวจสอบจุดทิ้งขยะอันตรายได้ที่ คิวอาร์โคด และ http://infofile.pcd.go.th/haz/Drop_Off.pdf?CFID=1236633&CFTOKEN=83992309