เปิด3ข้อเรียกร้องผู้ชุมนุม ส.ว.ลาออก 8พรรคจับมือกันแน่น ห้ามลดสัญญามหาชน
กลุ่มผู้ชุมนุมทางการเมืองที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อคืน19ก.ค.66 หลังรัฐสภาตีตกญัตติเสนอชื่อพิธาเป็นนายกฯ ยื่น3ข้อเรียกร้อง ส.ว.ลาออก 8พรรคจับมือกันแน่น ห้ามลดสัญญามหาชน
การชุมนุมทางการเมืองของกลุ่มผู้ให้การสนับสนุนพรรคก้าวไกลและนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ แคนดิเดตนายรัฐมนตรีและหัวหน้าพรรคที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเมื่อคืนวันที่ 19ก.ค.2566 มีส.ส.พรรคก้าวไกลไปร่วมสังเกตุการณ์การชุมนุม นำโดยนายรังสิมันต์โรม นายพริษฐ์ วัชรสินธุ และนางอมรัตน์ โชคปมิตต์กุล แกนนำพรรคก้าวไกลร่วมลงพื้นที่ด้วย
ทั้งนี้ ตัวเเทนกลุ่มได้อ่านปนะกาศเเถลงการณ์ 3 ข้อสรุปว่า
1.เรียกร้องให้ สว.ลาออกทันที
2.เรียกร้องพรรคร่วมฝั่งประชาธิปไตย8พรรค ให้จับมือกันเหนียวเเน่น
3.ให้พรรคร่วมฝั่งประชาธิปไตยไม่ลดระดับสัญญาที่เคยประกาศให้ไว้กับประชาชน ลงเเม่เเต่ข้อเดียว
ด้านนายพริษฐ์ กล่าวว่า การลงมติเลือกนายกฯทั้ง 2 วันคือวันที่13ก.ค.และวันที่19ก.ค.เป็นความพยายามที่จะคืนความปกติให้กับสังคม พรรคก้าวไกลยืนยันมาตลอด เรียกร้องให้สมาชิกวุฒิสภา(สว.) โหวตให้กับนายพิธเพื่อเคารพเสียงของประชาชนทุกคนที่ลงคะแนนจากการเลือกตั้งทั้ง 40 ล้านเสียง จนกลายมาเป็นผู้แทนราษฎรจำนวน 500 คน และพรรคก้าวไกลไม่เห็นด้วยกับมติรัฐสภาไม่ควรจะตีความว่าการเสนอชื่อนายกฯ เข้าญัตติทั่วไปอยู่ในข้อบังคับข้อที่ 41การเคารพเสียงข้างมากของส.สก็คือการเคารพเสียงของประชาชน
เมื่อถามว่าขั้นต่อไปจะมีการหารือหรือให้พรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลหรือไม่ พริษฐ์ระบุว่า ในส่วนนี้ก็ขอให้เป็นการหารือของพรรคในลำดับต่อไป อย่างไรก็ตาม การเมืองไทย ณ ณะนี้ ไม่ได้เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยปกติ ไม่ว่าจะเป็นการให้ สว. เคารพเสียงข้างมากของ ส.ส. เคารพเสียงข้างมากของประชาชน การที่พรรคก้าวไกลพยามอภิปรายคัดค้านให้การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีไม่ถูกจำกัดด้วยข้อบัญญัติ41 ทั้งหมดล้วนเป็นการพยายามคืนความปกติให้สังคมไทย