ECMO เครื่องปอดและหัวใจเทียม อุปกรณ์พยุงชีพชิ้นสำคัญ
หลายท่านอาจได้ยินชื่อเครื่อง ECMO หรือเครื่องปอดและหัวใจเทียมกันมากขึ้น โดยเฉพาะสถานการณ์ระบาดโควิดจากการช่วยชีวิตผู้ติดเชื้ออาการหนัก วันนี้เราจึงมาลงรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเครื่องนี้ว่ามีรูปแบบการทำงานอย่างไร
โรคหัวใจถือเป็นโรคที่เกิดขึ้นได้โดยที่ใครก็ต่างไม่คาดคิด บางครั้งอาจมีสัญญาณเตือนพอให้เรารู้ล่วงหน้า แต่บางทีอาจเกิดขึ้นปุบปับไม่ทันได้เตรียมใจ นี่เป็นเหตุให้เกิดกาคิดค้นไปจนรพํฒนาเครื่องมือการแพทย์หลากหลายรูปแบบขึ้นมารองรับ
วันนี้เราจึงพาไปทำความรู้จักกับเครื่อง ECMO กันเสียหน่อยว่ามันมี่ที่มาและถูกใช้งานในรูปแบบใด
ECMO ตัวช่วยสำคัญแก่ผู่ป่วย
ECMO หรือชื่อเต็ม Extracorporeal membrane oxygenation ในขณะที่คนบางส่วนจะรู้จักกันในชื่อ เครื่องปอดและหัวใจเทียม เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ทดแทนสองอวัยวะสำคัญอย่าง ปอด และ หัวใจ เพื่อช่วยในการพยุงชีพผู้ป่วยกรณีระบบหายใจหรือระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว
พื้นเพของอุปกรณ์ชนิดนี้ถูกคิดค้นขึ้นครั้งแรกในปี 1953 เพื่อใช้ในการผ่าตัดหลอดเลือดและทรวงอก ถูกใช้ทดแทนการทำงานของหัวใจเพื่อเพิ่มความสะดวกในการผ่าตัด ช่วยให้ศัลยแพทย์สามารถรักษาชีวิตของผู้ป่วยหลอดเลือดและหัวใจได้ดียิ่งขึ้น แต่มีช้อเสียคือขนาดของอุปกรณ์ค่อนข้างเทอะทะจึงมีขอบเขตการใช้งานจำกัด
กระทั่งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอุปกรณ์ชิ้นนี้จึงได้รับการพัฒนา จากเดิมที่มีขนาดใหญ่จนใกล้เคียงกับตู้เย็นหรือตู้แช่ ขณะที่อุปกรณ์รุ่นใหม่ได้รับการย่อส่วนให้มีความคล่องตัว จากเดิมที่เคยเป็นอุปกรณ์เพื่อใช้ในการผ่าตัด จึงเริ่มถูกใช้งานแพร่หลายมาขึ้นเพื่อสนับสนุนการประคองชีพของผู้ป่วย
นั่นทำให้บทบาทของเครื่อง ECMO เพิ่มมากขึ้นในการรักษาชีวิตและเพิ่มโอกาสรอดให้แก่ผู้ป่วยในหลายสถานการณ์
รูปแบบการทำงานของเครื่อง ECMO
บทบาทของเครื่องปอดและหัวใจเทียมนั้นตรงตามชื่อคือ อุปกรณ์ช่วยหมุนเวียนเลือดและออกซิเจนทดแทนปอดและหัวใจ เพื่อชดเชยกรณีระบบการทำงานของสองอวัยวะสำคัญนี้เกิดความเสียหาย ช่วยในการพยุงชีพและเปิดโอกาสให้อวัยวะได้เกิดการพักฟื้นไปจนซ่อมแซมเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิต
รูปแบบการทำงานของ ECMO จะทำการดึงเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วยจากหลอดเลือดสำคัญ จากนั้นจึงนำเลือดไปทำการฟอกผ่านเครื่อง โดยการสูบเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออก เพิ่มระดับออกซิเจนในเลือด และปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะ เปลี่ยนเลือดเสียให้กลับมาเป็นเลือดดีทดแทนหน้าที่ของปอด จากนั้นจึงสูบฉีดเลือดให้กลับมาไหลเวียนในร่างกาย
การใช้งานอุปกรณ์ชนิดนี้นอกจากระหว่างการผ่าตัดเพื่อทำหน้าที่แทนอวัยวะในระหว่างการซ่อมแซมแล้ว ยังถูกนำไปใช้แก่ ผู้ป่วยภาวะทางเดินหายใจล้มเหลว, ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว, ผู้ป่วยที่ประสบปัญหาในระบบไหลเวียนโลหิตกรณีอาการรุนแรง ไปจนการช่วยเหลือขณะทำปฏิบัติการช่วยฟื้นชีพ(CPR)
หากใช้งานอย่างถูกวิธีเครื่อง ECMO สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยได้เป็นจำนวนมาก และสามารถกู้ชีพของผู้ป้วยวิกฤติให้ได้มีเวลาและโอกาสเพิ่มเติมในการฟื้นตัว ดังจะเห็นได้จากมีการนำเครื่อง ECMO ไปใช้งานในการกู้วิกฤติแก่ผู้ป่วยโควิดอาการรุนแรงจนปอดหยุดการทำงาน ให้สามารถรักษาชีวิตจนปอดกลับมาเป็นปกติได้ในที่สุด
จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากหลายคนอาจรู้สึกว่านี่คือเครืองมือสารพัดประโยชน์ที่ช่วยรักษาชีวิตคนมากมาย
ข้อจำกัดของเครื่อง ECMO ที่ไม่ได้สารพัดประโยชน์อย่างที่คิด
เมื่อมีข้อดีย่อมต้องมีข้อเสีย ECMO แม้จะมีศักยภาพช่วยพยุงชีพเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยแต่เครื่องนี้มีข้อจำกัดหลายด้าน ECMO มีความเสี่ยงทำให้เกิดผลข้างเคียงมากมายตั้งแต่ อาการตกเลือด, การติดเชื้อ, เกิดลิ่มเลือดและฟองอากาศนำไปสู่ลิ่มเลือดอุดตัน, ไตทำงานบกพร่อง, เม็ดเลือดแดงตก, เกล็ดเลือดต่ำ ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้การใช้งานเครื่อง ECMO จำเป็นต้องอยู่ใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ต้องติดตามและเฝ้าระวังใกล้ชิดตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อสังเกตความเปลี่ยนแปลงที่อาจเป็นอันตรายแก่ผู้ป่วย เฝ้าระวังอาการแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและรับมือได้อย่างทันท่วงที
อีกทั้งตัวเครื่อง ECMO อาจช่าวยพยุงชีพผู้ป่วยวิกฤติได้มากมาย แต่ยังมีข้อจำกัดทำให้ไม่สามารถใช้งานได้กับบางกลุ่ม เช่น ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, ผู้ป่วยที่ใช้เครื่องช่วยหายใจมาเป็นเวลานาน, ผู้ป่วยภาวะลิ้นหัวใจเอออร์ติกรั่ว ไปจนผู้ป่วยหลอดเลือดแดงใหญ่ฉีกขาด เป็นต้น
นอกจากนี้ถึงการใช้เครื่อง ECMO แต่เนิ่นๆ จะเป็นหนึ่งในแนวทางรักษาที่ได้การยอมรับจากทั่วโลกว่า ช่วยรักษาชีวิตและเพิ่มโอกาสแก่ผู้ป่วยให้หายเป็นปกติ แต่บางครั้งการใช้งาน ECMO ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบในด้านดีแก่ผู้ป่วยเสมอไป โดยเฉพาะกับผู้ป่วยภาวะช็อกจากหัวใจบกพร่อง
จากการนำเสนอในงานประชุมทางวิชาการ American Heart Association 2022 จากแพทย์แห่งโรงพยาบาล Na Homolce แห่งเช็ก พวกเขาพบว่า คนไข้ที่ประสบภาวะช็อกจากการทำงานของหัวใจบกพร่อง เป็นเหตุให้ไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกายได้นั้น การใช้เครื่อง ECMO ไม่ได้เพิ่มอัตราการรอดชีวิตของผู้ป่วยมากนัก
ข้อมูลนี้เป็นการเก็บรวบรวมจากคนไข้ 117 ราย แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม โดยการใช้เครื่อง ECMO กับไม่ใช้งานเครื่องนี้ในช่วงแรก พวกเขาพบว่าอัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วยที่ใช้งานเครื่อง ECMO ในสามสิบวันแรกอยู่ที่ 67% ในขณะที่ผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้จะอยู่ราว 71% เช่นเดียวกับอัตราเสียชีวิตหลัง 30 วันที่ราว 50% และ 48% ตามลำดับ
จริงอยู่นี่เป็นข้อมูลหยาบจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ลงรายละเอียด อีกทั้งยังเป็นข้อมูลที่มีกลุ่มตัวอย่างไม่เพียงพอ จำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมหากต้องการหาข้อสรุป แต่ก็ช่วยบ่งบอกได้เช่นกันว่า เครื่อง ECMO ไม่ได้ช่วยรักษาได้ทุกโรคและเหมาะสมแก่ทุกอาการเกี่ยวกับหัวใจและปอดเสมอไปเช่นกัน
ที่มา
https://www.posttoday.com/post-next/innovation/1512
https://www.bumrungrad.com/th/treatments/extracorporeal-membrane-oxygenation-ecmo
https://www.bangkokhospital.com/content/ecmo-transport-extracorporeal-membrane-oxygenation
https://www.tctmd.com/news/early-ecmo-no-better-watch-and-wait-approach-cardiogenic-shock