posttoday

เคล็ดลับการเขียน Prompt ระดับท็อป เพื่อปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของ AI

09 กันยายน 2567

การเข้ามาของ AI คือการเข้ามาช่วยพัฒนาการทำงานของมนุษย์ และนี่คือ เคล็ดลับ การเขียน Prompt แบบมืออาชีพ ระดับสูงกำหนดควบคุมการทำงานของ AI ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

“Generative AI” คือเทคโนโลยีที่มาแรงแห่งยุค ด้วยความสามารถอันหลากหลายที่จะเข้ามาพลิกโฉมรูปแบบธุรกิจและการใช้ชีวิตของผู้คนทั่วโลก ซึ่งปัจจัยสำคัญในการใช้ขุมพลังจากผู้ช่วย AI ให้เกิดประสิทธิภาพและได้ผลลัพธ์ที่ดีและแม่นยำที่สุด ขึ้นอยู่กับ “Prompt” หรือ “การป้อนคำสั่ง” เพื่อกำหนดสิ่งที่ต้องการให้ AI  ทำ
 

เคล็ดลับการเขียน Prompt ระดับท็อป เพื่อปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของ AI

องค์ประกอบของ prompt ที่ดีนั้นจะต้องมีความ “ชัดเจน - เฉพาะเจาะจง – มีบริบท” ซึ่งในฐานะที่ไมโครซอฟท์ เป็นผู้พัฒนาผู้ช่วย AI ยอดนิยมอย่าง “Copilot” จึงอยากจะขอแชร์เทคนิค 3 ข้อที่ควรรู้ในการเขียน prompt ดังนี้: 

1.    ป้อนคำสั่งที่เฉพาะเจาะจง: บอกความต้องการและบริบทให้ชัดเจน เพื่อให้ได้คำตอบที่แม่นยำ เหมาะสมกับสถานการณ์ เช่น แทนที่จะใส่ prompt แค่ว่า “ขอแผนการเรียนวิชาศิลปะ” ให้ระบุรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงเข้าไปด้วย เช่น “ขอแผนการเรียนวิชาศิลปะ สำหรับนักเรียนชั้น ม.1 เน้นการเล่าเรื่องผ่านภาพ Collage พร้อมกับวัตถุประสงค์, สื่อการสอน, และตัวอย่างทางประวัติศาสตร์”
2.    ปรับตามกลุ่มเป้าหมาย: ระบุข้อมูลเกี่ยวกับผู้ฟังหรือผู้อ่านให้มากที่สุด เช่น อายุ อาชีพ และความสนใจ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สร้างสรรค์และตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
3.    ระบุรูปแบบและความยาว: ระบุให้ชัดเจนว่าต้องการรูปแบบข้อมูลตอบกลับเป็นแบบใด เช่น ให้ลิสต์เป็นหัวข้อ ขอสรุปสั้นๆ หรือขอรายละเอียดความยาว 2 ย่อหน้า เป็นต้น รวมถึงกำหนดว่าต้องการผลลัพธ์ออกมาในรูปแบบตาราง แผนภูมิ หรือโครงเรื่อง เพื่อให้เหมาะกับความต้องการที่จะนำไปใช้งานและรูปแบบที่จะนำเสนอ 

Prompt ที่น่าสนใจสำหรับใช้ในการทำงาน

ไมโครซอฟท์ได้สำรวจการใช้งาน Copilot ในที่ทำงาน และพบว่ามีผู้เชี่ยวชาญหลากหลายอาชีพที่นำเทคโนโลยี AI ไปใช้ประโยชน์ เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน และการช่วยคิดงานเชิงสร้างสรรค์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการร่างข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ หรือการออกแบบรายละเอียดในกิจกรรมเวิร์กช็อป สะท้อนให้เห็นว่า AI เป็นผู้ช่วยคนสำคัญที่จะเข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของคนทำงาน โดยไมโครซอฟท์ได้รวบรวม Prompt ที่จะช่วยให้แต่ละอาชีพสามารถนำไปปรับใช้ได้ง่ายๆ ดังนี้ 
 

อาชีพ: ทีมพัฒนาผลิตภัณฑ์

สถานการณ์: ใช้ Copilot เพื่อสรุปข้อมูลที่ซับซ้อนและยุ่งเหยิงให้เป็นรายงานที่มีความกระชับ 

กรณีการใช้งาน: ทีมนักพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้รวบรวมไอเดียเบื้องต้นจากการประชุมหลายๆ ครั้งเกี่ยวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ และนำบันทึกประชุมเหล่านั้นมาป้อนข้อมูลให้กับ Copilot พร้อมขอให้ร่างข้อกำหนดผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะเห็นได้ว่า Copilot สามารถช่วยให้สามารถเรียบเรียงความคิด ขึ้นโครงร่าง และสรุปโครงการได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

Prompt: "สร้างร่างข้อกำหนดผลิตภัณฑ์จากบันทึกการประชุม A และ B โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายและคุณลักษณะสำคัญของผลิตภัณฑ์สมาร์ทโฮมใหม่ของเรา"

อาชีพ: วิศวกร

สถานการณ์: การทำงานร่วมกับ Copilot เพื่อจัดกิจกรรมในเวิร์กช็อปสำหรับวิศวกรที่เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ

กรณีการใช้งาน: ในระหว่างเวิร์กช็อปเรื่องการจัดการโปรแกรมซอฟต์แวร์ ผู้เรียนขอให้ผู้จัดเวิร์กช็อปคิดกิจกรรมเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้พวกเขามีความเชี่ยวชาญมากขึ้น เขาจึงลองใช้ Copilot ให้ช่วยแนะนำแบบฝึกหัดได้อย่างรวดเร็ว

Prompt: "สร้างแบบฝึกหัด 3 ข้อ สำหรับโปรแกรมซอฟต์แวร์ XYZ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนในระดับสูง มีความเชี่ยวชาญในหัวข้อ ABC โดยมีคำแนะนำและผลลัพธ์ที่คาดหวังอย่างชัดเจน"

เคล็ดลับการเขียน Prompt ระดับท็อป เพื่อปลดล็อกศักยภาพที่แท้จริงของ AI
อาชีพ: พนักงานบัญชี / การเงิน

สถานการณ์: การใช้ Copilot เป็นผู้ช่วยในการค้นคว้าหาข้อมูลในเรื่องที่ไม่คุ้นเคย 

กรณีการใช้งาน: พนักงานบัญชีสนทนากับ Copilot เพื่อหาข้อมูลและประวัติเกี่ยวกับหน่วยธุรกิจที่เขาไม่เคยทำงานร่วมกันมาก่อน เขาถามเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรและความรับผิดชอบของหน่วยงานนั้นๆ

Prompt: "ให้ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับโครงสร้างองค์กรและความรับผิดชอบของทีมวิจัยและพัฒนา รวมถึงข้อมูลผู้บริหารและโครงการในปัจจุบัน"

อาชีพ: นักกฎหมาย

สถานการณ์: ใช้ Copilot เพื่อติดตามการแก้ไขเอกสาร เพื่อให้แน่ใจว่ามีความสอดคล้องกันและถูกต้อง 

กรณีการใช้งาน: ใช้ Copilot เพื่อเปรียบเทียบระหว่างเวอร์ชันต่างๆ ของเอกสารฉบับเดียวกันในเชิงคุณภาพ

Prompt: “ทำการเปรียบเทียบเชิงคุณภาพระหว่างเอกสารเวอร์ชัน V1 และ V2 โดยเน้นการเปลี่ยนคำ 

การเพิ่มเติม การลบ และผลกระทบที่มีต่อความหมายของเอกสาร”

อาชีพ: นักการตลาด/ประชาสัมพันธ์:

สถานการณ์: ใช้ Copilot ช่วยในการระดมความคิด (Brainstorm)

กรณีการใช้งาน: ทำแผนการตลาด โดยใช้ Copilot ช่วยนำเสนอไอเดียตั้งต้นในการคิดแคมเปญ ชื่อผลิตภัณฑ์ หรือการส่งเสริมการขาย ช่วยให้ได้ไอเดียที่สร้างสรรค์มากมายภายในเวลาอันรวดเร็ว

Prompt: “แนะนำชื่อสินค้าในกลุ่มอาหารสัตว์เลี้ยงสำหรับลูกสุนัข จำนวน 20 ชื่อ โดยสะท้อนถึงเรื่องส่วนผสมออร์แกนิก คุณภาพพรีเมียม และคุณค่าทางโภชนาการ พร้อมบอกข้อดีและข้อเสียของแต่ละชื่อ”

ผู้ที่สนใจสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการทั้งหมดนี้ได้ที่บล็อก Microsoft 365