posttoday

เปิดข้อมูลที่ควรรู้ 'แผ่นดินถล่ม' ตรงไหนเสี่ยง และสิ่งบอกเหตุให้อพยพทัน!

17 กันยายน 2567

กรมทรัพยากรธรณีแนะวิธีเตรียมความพร้อมรับมือ 'แผ่นดินถล่ม' แจงพื้นที่มีโอกาสเกิดในช่วงนี้ ลักษณะพื้นที่เสี่ยง สิ่งบอกเหตุ และข้อปฏิบัติตน อ่านครบ จบที่เดียว! พร้อมชี้ 16-17 ก.ย.นี้ ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง สตูล ระวัง โดยเฉพาะพื้นที่ฝนตก > 100 มม./24 ชม.

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกประกาศเฝ้าระวังแผ่นดินถล่มวันที่ 16-17 กันยายน 2567 นี้ ชี้ เนื่องจากมีฝนตกหนักวัดปริมาณน้ำฝนในรอบ 24 ชั่วโมงได้มากกว่า 150 มิลลิเมตร ประกอบกับมีฝนตกสะสมต่อเนื่องมาหลายวันทำให้ชั้นดินอุ้มน้ำไว้มาก อาจส่งผลให้เกิดแผ่นดินถล่มได้ 

กรมทรัพยากรธรณีขอให้เครือข่ายฯ ทธ. และประชาชนทั่วไปในพื้นที่เสี่ยงภัยจังหวัดชุมพร ระนอง พังงา กระบี่ ภูเก็ต ตรังและสตูล เฝ้าระวังแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลลาก ในระหว่างวันที่ 16-17 กันยายน 67 นี้ ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย ได้ติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยอย่างใกล้ชิด!

 

เปิดข้อมูลที่ควรรู้ \'แผ่นดินถล่ม\' ตรงไหนเสี่ยง และสิ่งบอกเหตุให้อพยพทัน!

 

 

  • แผนที่พื้นที่ที่มีโอกาสเกิดแผ่นดินถล่ม

ทั้งนี้กรมทรัพยากรธรณี ได้วิเคราะห์ข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์โดยพิจารณาร่องรอยการเกิดแผ่นดินถล่มในอดีตร่วมกับการพิจารณาปัจจัยที่ควบคุมการเกิดแผ่นดินถล่มจำนวน 7 ปัจจัย ได้แก่ ข้อมูลกลุ่มวิทยาหิน ข้อมูลธรณีโครงสร้าง หน้ารับน้ำฝน ทิศทางการไหลของน้ำ ระดับความสูง ความลาดชัน การใช้ประโยชน์ที่ดิน และจัดทำเป็นแผ่นที่ประเทศไทย 

 

จากรายงานสถานการณ์ธรณีพิบัติภัยประจำวันที่ 17 กันยายน เวลา 09:00 น.พบว่ามีการแจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงภัยซึ่งมีปริมาณน้ำฝนมากกว่า 100 มม.ขึ้นไป ดังนี้

1.บ.ราไวย์ ต.ในหาน อ.เมือง จ.ภูเก็ต 246 มม.

2.บ.วัดใหม่ ต.ฉลอง อ.เมือง จ.ภูเก็ต 215 มม.

3.ชุมชนน้ำตกกะทู้ ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 200 มม.

4.บ.แหลมพันวา ต.วิชิต อ.เมือง จ.ภูเก็ต 190 มม.

5.ชุมชนบ้านนาใน ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 174 มม.

6.บ.บางหวาน ต.กมลา อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต 168 มม.

7.บ.ต่อตั้ง ต.ปากทรง อ.พะโต๊ะ จ.ชุมพร 115 มม.

8.บ.บางซอย ต.คุระ อ.คุระบุรี จ.พังงา 105 มม.

 

นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ที่ต้องติดตามสถานการณ์ได้แก่ ตาก เชียงใหม่ พะเยา เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ กาญจนบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด สระแก้ว ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

 

เปิดข้อมูลที่ควรรู้ \'แผ่นดินถล่ม\' ตรงไหนเสี่ยง และสิ่งบอกเหตุให้อพยพทัน!

 

  • ลักษณะพื้นที่เสี่ยงภัย

1.หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในหุบเขาติดกับภูเขาและใกล้ทางน้ำ

2.มีร่องรอยดินแยกบนภูเขาเหนือหมู่บ้าน

3.หมู่บ้านที่ถูกน้ำป่าไหลหลากบ่อยๆ

4.มีกองหิน ทราย และซากไม้อยู่เป็นจำนวนมากในลำน้ำ

5.หมู่บ้านที่เคยเกิดดินถล่มหรือมีหลักฐานทางธรณีวิทยาว่าเคยเกิดดินถล่มในอดีต

 

  • สิ่งบอกเหตุแผ่นดินถล่ม

1. ฝนตกหนักถึงหนักมากตลอดทั้งวัน

2.ระดับน้ำในลำห้วยสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

3.สีของน้ำเปลี่ยนเป็นสีของดินบนภูเขาและมีเศษซากไม้ลอยมาตามน้ำ

4.เสียงดังมากผิดปกติบนภูเขาและในลำห้วยเนื่องจากการแตกและเคลื่อนตัวชนกันของหิน

 

  • ข้อปฏิบัติตน

1. ติดตามข้อมูลสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนโดยเฉพาะพื้นทีฝนกตกหนักมากกว่า 100 มม./24 ชม.

2. พื้นที่ลุ่มน้ำ น้ำท่วมถึง ควรเก็บข้าวของย้ายขึ้นที่สูงหรือที่ปลอดภัย

3. สังเกตสิ่งบอกเหตุต่างๆ เช่น สีของน้ำ หรือ เศษซากไม้ลอยน้ำ ฯลฯ

4. หลีกเลี่ยงการเดินทางข้ามน้ำ / เดินลัดลำน้ำ / หาปลา

5. ควรจัดเวรยามเฝ้าระวังตลอด 24 ชม.

6. แจ้งเตือนภัยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และท้ายน้ำ

7.เตรียมไฟฉายหรืออุปกรณ์ส่องสว่างให้พร้อม

8. ตื่นตัวและเตรียมพร้อมไปยังจุดปลอดภัยเสมอ

 

เปิดข้อมูลที่ควรรู้ \'แผ่นดินถล่ม\' ตรงไหนเสี่ยง และสิ่งบอกเหตุให้อพยพทัน!

 

ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย กรมทรัพยากรธรณี