posttoday

IATA ค้านเก็บภาษีท่องเที่ยวของรัฐบาล ชี้ราคาน้ำมันมีผลต่อรายได้การบิน

01 พฤศจิกายน 2567

IATA จัดงานสัมมนาด้านการเงินโลกและด้านการโดยสารการเดินทางที่ประเทศไทย ชี้ปี 2568 ธุรกิจการบินน่าจะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันที่ถูกลง แต่ไม่เห็นด้วยกับการเก็บภาษีท่องเที่ยวของรัฐบาล แนะนำอนาคตการบินของไทย ย้ำให้ไทยเสริมสร้างรากฐานของภาคการบิน

ช่วงวันที่ 30-31 ตุลาคม 2567 สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ ( IATA ) หรือ ไออาต้า  ได้จัดงานสัมมนาด้านการเงินโลกและด้านการโดยสารการเดินทาง ที่ประเทศไทย โดยเชิญผู้นำสายการบินระดับสูงและผู้เชี่ยวชาญด้านอุตสาหกรรมการบินจากทั่วโลกกว่ามีผูู้เข้าร่วมประมาณ 1,400 คน  เพื่อหารือและแลกเปลี่ยนมุมมองร่วมกัน

แมรี โอเวนส์ ธอมเซ่น รองประธานอาวุโสด้านความยั่งยืนและหัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ IATA กล่าวว่าผลกำไรของสายการบินในปีหน้าน่าจะดีขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันและเชื้อเพลิงเครื่องบินที่ลดลง

IATA คาดการณ์กำไรสุทธิเฉลี่ยของสายการบินทั่วโลกในปีนี้ที่ 3.1% หรือ 6.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อผู้โดยสาร ซึ่งเกินระดับในปี 2019 ที่ 3.1% และ 5.80 ดอลลาร์สหรัฐต่อผู้โดยสาร

IATA ค้านเก็บภาษีท่องเที่ยวของรัฐบาล ชี้ราคาน้ำมันมีผลต่อรายได้การบิน
 

IATA ค้านเก็บภาษีท่องเที่ยวของรัฐบาล ชี้ราคาน้ำมันมีผลต่อรายได้การบิน

อัตรากำไรสุทธิสูงสุดที่อุตสาหกรรมเคยพบเห็นก่อนหน้านี้คือ 5-6%

ราคาน้ำมันโลกลดลงอย่างมากเหลือต่ำกว่า 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งถือเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจและการบินทั่วโลก นางธอมเซ่นกล่าว

แม้ว่าตลาดน้ำมันจะเป็นหนึ่งในตลาดที่มีความอ่อนไหวที่สุดในโลกและจะผันผวนมาก เนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์และการเลือกตั้งสหรัฐฯ แต่ราคาน้ำมันกลับมีแนวโน้มลดลง

การเคลื่อนไหวนี้ส่วนใหญ่มาจากประเทศขนาดใหญ่ เช่น จีน ที่เปลี่ยนนโยบายจากดีเซลมาเป็นการใช้ก๊าซธรรมชาติเหลวในการขนส่งทางรถบรรทุก

อุปทานน้ำมันส่วนเกินในสหรัฐฯ ก็เป็นตัวขับเคลื่อนแนวโน้มนี้เช่นกัน ราคาเชื้อเพลิงเครื่องบินที่สายการบินใช้ลดลงตามราคาน้ำมันดิบที่ลดลง โดยค่าใช้จ่ายของสายการบินทั้งหมด 30% มาจากราคาน้ำมัน

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน อุตสาหกรรมการบินต้องเผชิญกับต้นทุนอื่นๆ ที่เพิ่มขึ้นแทน เช่น แรงงาน การบำรุงรักษา และชิ้นส่วนที่เพิ่มขึ้น และยังเผชิญกับความท้าทายจากการหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานอีกด้วย
IATA ค้านเก็บภาษีท่องเที่ยวของรัฐบาล ชี้ราคาน้ำมันมีผลต่อรายได้การบิน

นางทอมเซนกล่าวเสริมว่าสายการบินยังคงเป็นหนี้อยู่ตั้งแต่เกิดโรคระบาด ซึ่งจะใช้เวลาสองสามปีกว่าที่จะกลับมามีกำไรเพิ่มขึ้นส่งผลให้กำไรสุทธิปรับตัวดีขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าราคาน้ำมันที่ลดลง

ส่วนเรื่องการเก็บภาษีท่องเที่ยวที่รัฐบาลไทยจะเก็บเพิ่มนั้น ไออาต้า (IATA) ไม่เห็นด้วยกับประเด็นนี้ แต่อยากรัฐบาลหาวิธีอื่นเพื่อขยายการท่องเที่ยวมากกว่าแทนที่จะมาเก็บภาษีเพิ่มเพราะอาจจะทำให้ผู้โดยสารลดลง

IATA ค้านเก็บภาษีท่องเที่ยวของรัฐบาล ชี้ราคาน้ำมันมีผลต่อรายได้การบิน

“ศักยภาพการบินของไทยมีแนวโน้มที่ดี ในขณะนี้ความต้องการเดินทางทางอากาศฟื้นตัวแล้วถึง 88% เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2562 และคาดว่าจะกลับมาเทียบเท่าอย่างแท้จริงตั้งแต่ปี 2568 ด้วยการเติบโตจากการท่องเที่ยวระดับโลกและภาคธุรกิจในภูมิภาคที่กำลังเติบโต ประเทศไทยมีศักยภาพที่จะมีการเติบโตทางตลาดการบินใน15 อันดับแรกของโลกในอีกสองทศวรรษข้างหน้า” ดร. สี ซิงเฉียน (Dr Xie Xingquan) รองประธานภูมิภาคเอเชียเหนือและ (รักษาการ) เอเชียแปซิฟิก ของ IATA กล่าว

ทั้งนี้ "ดร. สี" แนะนำให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินมาตรการเพื่อเสริมสร้างภาคการบินของประเทศไทย เพื่อเพิ่มประโยชน์สูงสุดที่ช่วยให้ธุรกิจการบินสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจไทยได้ด้วย 84% ของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมายังประเทศไทยโดยทางอากาศยาน (ก่อน COVID-19) ความสำคัญของการบินต่อภาคเศรษฐกิจหลักนี้ (7.4% ของ GDP ก่อน COVID-19) นั้นชัดเจน

“การส่งเสริมการท่องเที่ยวควรเป็นสิ่งสำคัญอัตราภาระภาษีที่ต่ำเป็นปัจจัยสำคัญและเป็นกุญแจสำคัญของประเทศไทย ในการรักษาตำแหน่งผู้นำในภาคการท่องเที่ยวในเอเชีย การประชุม สัมมนา การจัดงานแสดงสินค้า(MICE) จะเสริมสร้างศูนย์กลางการบินของกรุงเทพฯแทนที่จะพิจารณาการนำภาษีท่องเที่ยวมาใช้อีกครั้งหนึ่งซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความต้องการในการเดินทางของผู้โดยสาร รัฐบาลควรพิจารณาหาวิธีการพัฒนาภาคการท่องเที่ยวโดยการลดต้นทุนมากกว่า” ดร.สี  กล่าว

IATA ค้านเก็บภาษีท่องเที่ยวของรัฐบาล ชี้ราคาน้ำมันมีผลต่อรายได้การบิน

ตามข้อมูลของ IATA จำนวนผู้โดยสารของไทยน่าจะมีอัตราการเติบโตต่อปีที่ 3.88% ระหว่างปี 2024 ถึง 2043 ขณะที่ความต้องการผู้โดยสารได้เพิ่มขึ้นถึง 88% ของระดับในปี 2019 แล้ว

IATA ยังกล่าวอีกว่าประเทศไทยอยู่ในตำแหน่งที่ดีที่จะเป็นตลาดการบินอันดับ 15 ของโลกในอีกสองทศวรรษข้างหน้า

นอกเหนือจากการหลีกเลี่ยงการเพิ่มภาระภาษีการบิน ดร. สี ยังเน้นย้ำถึงโครงสร้างพื้นฐาน ระบบดิจิทัล และความยั่งยืน เป็นหลักสำคัญโครงสร้างพื้นฐาน 

แผนการปรับปรุงและขยายสนามบินสุวรรณภูมิมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรับรองว่าโครงสร้างพื้นฐานของสนามบินนั้นสามารถรองรับแนวโน้มการเติบโตของการเดินทางโดยทางอากาศยานที่คาดการณ์ได้

“การปรับปรุงแผนแม่บทสนามบินของประเทศไทย จะช่วยส่งเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศผ่านภาคอุตสาหกรรมการบิน การหารือกับทางสายการบินจะช่วยให้มั่นใจได้ว่าการลงทุนนั้นอย่างมีประสิทธิภาพในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำคัญ อันจะสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจ และเป็นประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ” ดร. สี   กล่าว

IATA ค้านเก็บภาษีท่องเที่ยวของรัฐบาล ชี้ราคาน้ำมันมีผลต่อรายได้การบิน