"บิ๊ก เชนจ์" การศึกษาไทย ใน 5 ปี
"ณัฏฐพล" เผยการศึกษาไทยในอนาคต ต้องดึงดาต้ามาปรับใช้ ร่วมมือเอกชน พัฒนาทักษะเยาวชนให้เหมาะกับภาคแรงงานยุคดิจิทัล
นายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่าจากการนำเทคโนโลยี หรือ ดิจิทัล เข้ามามีส่วนร่วมพัฒนาระบบ การศึกษาของประเทศไทย ซึ่งจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ โดยจะเห็นความ ขัดเจนอย่างเป็นรูปธรรมภายใน 3-5 ปีนับจากนี้
โดยจะเริ่มขั้นตอนการปรับพื้นฐานตั้งแต่ระดับขั้นโรงเรียน ที่มีคุณภาพผ่านกระบวน การสร้างความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน โดยต้องร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาค เอกชน ในการปรับสู่หลักสูตรดิจิทัลได้ทั่วทั้งประเทศ ซึ่งอุปสรรคหลัก คือ ควาพมร้อม ด้านบุุคลากร ครูผู้สอน ซึ่งยังมีจำนวนหนึ่งที่ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าว
"จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา เป็นความโชคดีในด้านที่เร่งผลักดัน ให้ผู้คนมีความเข้าใจถึงความจำเป็นในการใช้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำ วันมากขึ้น โดยเฉพาะในด้านการศึกษา" นายณัฎฐพล กล่าว
โดยกระทรวงศึกษามองว่า สิ่งที่ภาครัฐต้องการจากภาคเอกชนให้มีส่วนร่วมในการ พัฒนาเทคโนโลยีการศึกษาของไทย คือ ด้าน โนว์-ฮาว องค์ความรู้ที่ภาคเอกชนมีความ เชี่ยชาญโดยเฉพาะ สิ่งที่ ธุรกิจเอกชน ต้องการแรงงานรูปแบบใดในอนาคตที่มาจากภาคการศึกษาของไทย จากการใช้ ข้อมูล (Data) เข้ามาวิเคราะห์และจำแนกความต้องการเฉพาะด้าน เช่น กลุ่มวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล เป็นต้น
ขณะที่ปัจจุบันยอมรับว่าระบบการศึกษาของไทย ยังมีความอ่อนแอในด้านของการตัดสินใจในภาพใหญ่ ต่อการแก้ไขในด้านต่างๆ ที่อาจดำเนินการได้ล่าช้า ซึ่งการหาแนวทางแก้ไขเรื่องดังกล่าว ควรให้ความสำคัญในกลุ่มเยาวชนของประเทศ เป็นหลัก