posttoday

ปลดล็อคประมงไทยไม่ช่วยแก้ปัญหาชี้กม.400ฉบับคือตัวอุปสรรค

09 มกราคม 2562

นายกสมาคมประมงอวนล้อมแห่งประเทศไทยขอรัฐบาลเปิดโอกาศชาวประมงมีส่วนร่วมแก้กฏหมาย ชี้ไอยูยูเข้ามาปรับปรุงแก้ไข 4 ปียาวนานที่สุดในโลกกิจการประมงเสียหลายแสนล้านหากินยากทำเศรษฐกิจทรุด

นายกสมาคมประมงอวนล้อมแห่งประเทศไทยขอรัฐบาลเปิดโอกาศชาวประมงมีส่วนร่วมแก้กฏหมาย ชี้ไอยูยูเข้ามาปรับปรุงแก้ไข 4 ปียาวนานที่สุดในโลกกิจการประมงเสียหลายแสนล้านหากินยากทำเศรษฐกิจทรุด


เมื่อวันที่ 9 มค. 62  นายภูเบศ จันทนิมิ นายกสมาคมประมงจังหวัดปัตตานี  ในฐานะนายกสมาคมประมงอวนล้อมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า  การปลดล็อคของไอยูยูยังไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี สำหรับผู้ประกอบการประมงไทยซึ่งได้ประสบมาร่วม 4 ปี  เพราะยังมีกฎหมาย และประกาศต่างๆ รวมแล้ว400 ฉบับที่เป็นอุปสรรคไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และเป็นความเสียหายไปแล้วหลายแสนล้านบาท มีทั้งทรัพย์สินเรือ ปริมาณสัตว์น้ำที่ไม่ได้จับสูญหายไป ฯลฯ  ส่งผลต่อการค้าขายส่งผลต่อเศรษฐกิจภาพรวม ทางออกของชาวประมงที่ดีขึ้นคือกฎหมายทั้งหมดต้องเปิดโอกาสให้ชาวประมงเข้าไปมีส่วนร่วมในการนำเสนอและแก้ไขร่วมกัน ไม่ใช่การกระทำอยู่ข้างเดียว โดยเฉพาะพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558  และ พระราชกำหนด การประมง (ฉบับบที่ 2) พ.ศ.2560

“ทุกฝ่ายต้องมานั่งดูหารือทบทวนกันใหม่ อันไหน มีปัญหา อุปสรรคมาต่อการประกอบอาชีพ และอยู่ไม่ได้ จะต้องแก้ออก  เรียงลำดับกฎหมายใหม่ทั้งหมด  ซึ่งจะต้องทำร่วมกัน โดยชาวประมงจะต้องมีส่วนร่วม หากไม่ดำเนินการ พรก. กฎหมาย และประกาศต่าง ๆ  รวม 400 ฉบับ  ก็ยังคงประสบปัญหาเดิมไม่เปลี่ยนแปลง  แต่ในส่วนอุตสาหกรรมการประมง  ก็จะดีขึ้น”นายภูเบศ กล่าว

ทั้งนี้ กฎหมายบางตัวแก้ไขโดยไอยูยู โดยไม่ได้บังคับไทย  เพราะการทำกฎหมายขาดการมีส่วนร่วมของชาวประมงเป็นการกระทำกฎหมายอยู่ข้างเดียว ไอยูยูเข้ามาแก้ไขปรับปรุง ถือว่ายาวนานที่สุดในโลกเกือบ 4 ปี  ชาวประมงร้องขอมาตลอดว่า ควรทบทวนว่าสิ่งใดที่เกินไป ส่วนไอยูยูก็ไม่ได้ร้องต้องกลับมาคืนความเป็นธรรมให้กับชาวประมง เรือประมง ที่ไม่ถูกต้องทางรัฐบาลก็เอาออกไปแล้วเป็นเรือขาว แดง ประมาณกว่า 10,000 ลำ  มากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์  จากเรือประมงประมาณ กว่า 20,000 ลำ  และที่ถูกต้องมีประมาณ 10,000  ลำต้น  และที่ออกประกอบการได้ประมาณ7,000 ลำ  จะต้องดูแล อย่าให้เกิดความเสียหายไปมากกว่านี้

ภาพประกอบข่าว