posttoday

เนชั่นโพล ครั้งที่1 เพื่อไทย กวาด ส.ส.เขต กทม. เกือบยกจังหวัด

19 เมษายน 2566

เปิดรายละเอียด เนชั่นโพล ครั้งที่ 1 พบ เพื่อไทย กวาด ส.ส.เขต เมืองกรุงแบบแลนด์สไลด์ เกือบยกจังหวัด ทิ้งโด่ง 27 เขต พ่าย ก้าวไกลเพียงเขตเดียว คือ เขต 2 ที่เหลืออีก 5 เขต คนยังไม่ตัดสินใจมีสัดส่วนสูงกว่า

หลังจากเนชั่นโพล ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของ สำนักข่าวเครือเนชั่น กับ คณาจารย์ นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์องค์กรอิสระ และภาคเอกชน  ภายใต้โครงการ "Road to The Future เลือกตั้ง66 อนาคตประเทศไทย" ได้แถลงผลการสำรวจการเลือกตั้ง66 เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 18 เม.ย.66 ที่ผ่านมา โดย ผลการสำรวจครั้งที่ 1 ครอบคลุมการสำรวจประชาชนในพื้นที่กทม.และพื้นที่อื่นอีก 8 ภูมิภาค ระหว่างวันที่ 7-12เม.ย. 66

ผลการสำรวจครั้งที่ 1 ชี้ชัดถึงคะแนนนิยมของพรรคการเมืองทั่วประเทศในช่วงแรก ว่า พรรคเพื่อไทยมีความนิยมมาเป็นอันดับ 1 คิดเป็น 35.75 % โดยที่พรรคก้าวไกลมาเป็นอันดับ 2 ที่ 16.02 % แต่ที่น่าสนใจคือ ตัวเลขของผู้ที่ยังไม่ตัดสินใจ มีมากถึง 32.27 % รองจากพรรคเพื่อไทย นั้นหมายถึง พรรคการเมืองต่างๆยังมีโอกาสในการเบียดแย่งคะแนนก่อนจะถึงวันหน่อยบัตรใน วันที่ 14 พ.ค.66 

สำหรับ สนาม กทม. ซึ่งมีเขตเลือกตั้งมากที่สุด 33 เขต เป็นเขตเมืองหลวง กระแสนิยมในการสำรวจครั้งที่ 1 หลังการเปิดรับสมัคร มีรายละเอียดดังนี้ 

ผลการสำรวจ กทม. ภาพรวมกรุงเทพ

อยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีของ คน กทม.

 ในภาพรวมแนวโน้มความนิยมที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีในลำดับที่หนึ่งในแต่ละเขต พบว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ได้รับความนิยม ลำดับที่ 1 มากที่สุด คิดเป็น 29.76% รองลงมาคือ นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ 24.43% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 18.41%

เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มความนิยมที่จะเลือกนายกรัฐมนตรีในลำดับที่ 1 รายเขต พบว่า น.ส.แพทองธาร ชินวัตร ได้รับความนิยม ลำดับที่ 1 ใน 16 เขตเลือกตั้ง ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 1, 6, 7, 9, 11, 12, 13, 15, 16, 18, 19, 21, 24, 26, 27 และ 28 ในขณะที่นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ได้รับความนิยมลำดับที่ 1 ใน 10 เขตเลือกตั้ง ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 2, 4, 14, 17, 20, 22, 29, 31, 32 และ 33 นอกจากนั้นผู้จะมาใช้สิทธิยังไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจในการเลือกนายกรัฐมนตรีใน 7 เขตเลือกตั้ง ได้แก่ เขตเลือกตั้งที่ 3, 5, 8, 10, 23, 25 และ 30

แนวโน้มความนิยมที่จะเลือกพรรคการเมืองในระบบปาร์ตี้ลิสต์ใน กทม.

พบว่า พรรคเพื่อไทยได้รับความนิยม มากที่สุด อันดับ 1 คิดเป็น 40.95% รองลงมา คือ พรรคก้าวไกล 23.75% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 22.03% เมื่อวิเคราะห์รายเขตเลือกตั้ง พบว่า พรรคเพื่อไทยได้รับความนิยม มากที่สุด เกือบทุกเขต ยกเว้น 6 เขตเลือกตั้ง ที่ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจมากที่สุด ได้แก่ เขต 3, 8, 10, 25, 30 และเขต 33

 

เนชั่นโพล ครั้งที่1  เพื่อไทย กวาด ส.ส.เขต กทม. เกือบยกจังหวัด

(แผนที่เขตเลือกตั้งใน กทม. จำแนกตามการเลือก ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อสังกัดพรรคการเมือง)

 

ทั้งนี้ในการเลือกพรรคการเมืองใด ๆ มีเหตุผลอันดับ 1 คือ คือ พรรคมีวิสัยทัศน์และนโยบายที่ดี 43.30% อันดับ 2 มีผลงานดี/เข้าตา 21.43% และอันดับ 3 ชอบหัวหน้าพรรค 10.21%


หากวิเคราะห์โดยจำแนกเป็นรายเขตเลือกตั้ง พบว่า เกือบทุกเขตเลือกตั้ง ที่ผู้ที่จะมาใช้สิทธิฯ เลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตฯ จากพรรคเพื่อไทยมากที่สุด ยกเว้นเขต 2 ที่เลือกพรรคก้าวไกลมากที่สุด และเขต 3, 8, 25, 30 และเขต 33 ที่ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ

ทั้งนี้ ผู้ที่จะมาใช้สิทธิเลือกตั้ง มีเหตุผลในการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตฯ โดยเลือกที่พรรคการเมืองมากกว่าเลือกที่ตัวบุคคล โดยเลือกที่พรรคการเมือง คิดเป็น 73.53% และเลือกที่ตัวบุคคล 26.47%

สำหรับรายละเอียดการสำรวจแนวโน้มว่าผู้มีสิทธิจะมีการเลือก ส.ส.แบบเขตเลือกตั้งครั้งที่ 1 มีดังนี้ 

 

เนชั่นโพล ครั้งที่1  เพื่อไทย กวาด ส.ส.เขต กทม. เกือบยกจังหวัด

(แผนที่เขตเลือกตั้งใน กทม. จำแนกตามการเลือก ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้งสังกัดพรรคการเมือง)

 

เขตเลือกตั้งที่ 1 พบว่า เพื่อไทย 41.09% รองลงมา คือ ก้าวไกล 24.10% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 13.83%

เขตเลือกตั้งที่ 2 พบว่า ก้าวไกล 32.97% รองลงมา คือเพื่อไทย 32.72% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 16.78%

เขตเลือกตั้งที่ 3 พบว่า ยังไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ  40.80% รองลงมา คือ เพื่อไทย 32.16% และก้าวไกล 16.10%

เขตเลือกตั้งที่ 4 พบว่า เพื่อไทย  35.20% รองลงมา คือ ก้าวไกล 27.20% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 22.18%

เขตเลือกตั้งที่ 5 พบว่า เพื่อไทย  45.56% รองลงมา คือ ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 24.19% และก้าวไกล 16.10%

 

เขตเลือกตั้งที่ 6 พบว่า เพื่อไทย  49.65% รองลงมา คือ ก้าวไกล 21.19% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 9.48%

เขตเลือกตั้งที่ 7 เพื่อไทย  44.55% รองลงมา คือ ก้าวไกล 28.39% และรวมไทยสร้างชาติ 8.85%

เขตเลือกตั้งที่ 8 พบว่า ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ  38.06% รองลงมา คือ เพื่อไทย 33.10% และก้าวไกล 22.50%

เขตเลือกตั้งที่ 9 พบว่า เพื่อไทย  40.14% รองลงมา คือ ก้าวไกล 26.15% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 23.47%

เขตเลือกตั้งที่ 10 พบว่า เพื่อไทย  32.22% รองลงมา คือ ไม่ตัดสินใจ 31.91% และก้าวไกล 22.90%

 

เขตเลือกตั้งที่ 11 พบว่า เพื่อไทย  47.99% รองลงมา คือ ก้าวไกล 16.90% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 15.16%

เขตเลือกตั้งที่ 12 พบว่า เพื่อไทย  55.72% รองลงมา คือ ก้าวไกล 25.06% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 7.86%

เขตเลือกตั้งที่ 13 พบว่า เพื่อไทย  42.54% รองลงมา คือ ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 24.92% และก้าวไกล 23.45%

เขตเลือกตั้งที่ 14 พบว่า เพื่อไทย  33.82% รองลงมา คือ ก้าวไกล 28.89% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 21.07%

เขตเลือกตั้งที่ 15 พบว่า เพื่อไทย 55.86% รองลงมา คือ ก้าวไกล 18.38% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 15.35%

 

เขตเลือกตั้งที่ 16 พบว่า เพื่อไทย  37.93% รองลงมา คือ ก้าวไกล 28.04% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 15.89%

เขตเลือกตั้งที่ 17 พบว่า เพื่อไทย  34.05% รองลงมา คือ ก้าวไกล 29.65% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 23.11%

เขตเลือกตั้งที่ 18 พบว่า เพื่อไทย 57.04% รองลงมา คือ ก้าวไกล 19.14% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 14.35%

เขตเลือกตั้งที่ 19 พบว่า เพื่อไทย  51.58% รองลงมา คือ ก้าวไกล 22.04% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 11.64%

เขตเลือกตั้งที่ 20 พบว่า เพื่อไทย  37.51% รองลงมา คือ ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 25.74% และ ก้าวไกล 25.22%

 

เขตเลือกตั้งที่ 21 พบว่า เพื่อไทย 43.87% รองลงมา คือ ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 28.08 % และก้าวไกล 14.86%

เขตเลือกตั้งที่ 22 พบว่า เพื่อไทย 36.04% รองลงมา คือ ก้าวไกล 29.68% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 15.22%

เขตเลือกตั้งที่ 23 พบว่า เพื่อไทย  41% รองลงมา คือ ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 31.81% และ ก้าวไกล 15.79%

เขตเลือกตั้งที่ 24 พบว่า เพื่อไทย  46.50% รองลงมา คือ ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 22.41% และ ก้าวไกล 17.77%

เขตเลือกตั้งที่ 25 พบว่า ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ  37.02% รองลงมา คือ เพื่อไทย 34.97% และ ก้าวไกล 20.57%

 

เขตเลือกตั้งที่ 26 พบว่า เพื่อไทย  66.66% รองลงมา คือ ก้าวไกล 30.51% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 0.37%

เขตเลือกตั้งที่ 27 พบว่า เพื่อไทย  45.56% รองลงมา คือ ก้าวไกล 25.5% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 20.04%

เขตเลือกตั้งที่ 28 พบว่า เพื่อไทย  49.14% รองลงมา คือ ก้าวไกล 24.56% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 14.20%

เขตเลือกตั้งที่ 29 พบว่า เพื่อไทย  34.22% รองลงมา คือ ก้าวไกล 25.18% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 21.85%

เขตเลือกตั้งที่ 30 พบว่า  ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ  32.33% รองลงมา คือ เพื่อไทย 29.57% และ ก้าวไกล 26.82%

 

เขตเลือกตั้งที่ 31 พบว่า เพื่อไทย  39.28% รองลงมา คือ ก้าวไกล 34.06%  และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 15.39%

เขตเลือกตั้งที่ 32 พบว่า เพื่อไทย  37.55% รองลงมา คือ ก้าวไกล 25.64% และไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ 19.04.%

เขตเลือกตั้งที่ 33 พบว่า ไม่แน่ใจ/ยังไม่ตัดสินใจ  26.48% รองลงมา คือ เพื่อไทย 24.38% และ ก้าวไกล 23.47%