การทูตวัคซีนของจีนสะดุดในอาเซียน ชี้เป็นโอกาสทองของสหรัฐ
สื่อใหญ่อย่าง The New York Times ชี้คือนี่โอกาสของสหรัฐในการเข้ามาแทรกตัวแทนจีน
The New York Times รายงานว่าถึงแม้ว่า ประเทศต่างๆ ทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หันไปหาวัคซีนชนิดอื่นอย่างรวดเร็วเพื่อมองหาวัคซีนที่ดีกว่าของจีน
สื่ออเมริกันยกตัวอย่างกรณีที่คนประเทศไทยที่ได้รับการฉีดวัคซีน Sinovac ของจีนหนึ่งครั้งจะได้รับ AstraZeneca หลังจากนั้น ในอินโดนีเซีย ฉีดวัคซีน Moderna เพื่อเป็ยบูสเตอร์ให้จ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ได้รับ Sinovac สองโดส
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขของมาเลเซียกล่าวว่าประเทศจะหยุดใช้ Sinovac เมื่อหมดล็อตแล้ว แม้แต่กัมพูชา ซึ่งเป็นหนึ่งในพันธมิตรที่แข็งแกร่งที่สุดของจีนในอาเซียน ก็เริ่มใช้ AstraZeneca เป็นบูสเตอร์ให้กับบุคลากรแถวหน้า
The New York Times ชี้ว่า มีไม่กี่แห่งที่ได้รับประโยชน์จากการทูตด้านวัคซีนของจีนมากพอๆ กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องดิ้นรนเพื่อให้ได้มาซึ่งวัตซีนจากผู้ผลิตยาจากตะวันตก และหลายประเทศแถบนี้กำลังมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้จีนเข้ามาโดยสัญญาว่าจะจัดหายามากกว่า 255 ล้านโดส The New York Times ชี้ จีนพยายามใช้ความที่อาเซียนขาดแคลนวัคซีนดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้ เช่น หวางอี้ รัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศ เดินทางมาภูมิภาคนี้ในเดือนมกราคม โดยสัญญาว่าจะช่วยต่อสู้กับโรคระบาด ในเดือนเมษายน หวางอี้ประกาศว่าเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความสำคัญต่อจีน ประมาณหนึ่งในสามของวัคซีน 33 ล้านโดส ที่จีนแจกจ่ายฟรีทั่วโลกถูกส่งไปยังอาเซียน
แต่ตอนนี้หลายประเทศเริ่มกังขากับประสิทธิภาพของวัคซีนจีน และบางแห่งแสดงความไม่พอใจเกี่ยวกับเงื่อนไขที่มาพร้อมกับการบริจาคหรือการขายวัคซีนของจีน
The New York Times ชี้ว่า "ความพ่ายแพ้ในการรณรงค์วัคซีนของจีนทำให้เกิดการเปิดทางการทูตสำหรับสหรัฐ" เพราะ "ขณะที่หลายประเทศหันหลังให้จีน ความช่วยเหลือด้านวัคซีนจากสหรัฐก็เปิดโอกาสให้ฟื้นฟูความสัมพันธ์ในภูมิภาคที่เจ้าหน้าที่สหรัฐละเลยเป็นส่วนใหญ่มาหลายปี ขณะที่จีนขยายอิทธิพล"
สหรัฐยังเอ่ยถึงการตั้งเงื่อนไขช่วยเหลือของจีน เช่น การที่รัฐบาลสหรัฐได้ให้คำมั่นว่าด้วยวัคซีนของสหรัฐที่บริจาคให้ประมาณ 23 ล้านช้อตและจะมาถึงในสัปดาห์นี้นั้น “ไม่มีข้อผูกมัด” พร้อมๆ กันนั้น กมลา แฮร์ริส รองประธานาธิบดียังมีกำหนดจะเดินทางถึงสิงคโปร์และเวียดนามในวันอาทิตย์ด้วย
ผู้เชี่ยวชาญรายหนึ่งบอกกับ The New York Times ว่าจีนเริ่มเสื่อมมนต์ขลังแล้วในแง่ของความได้เปรัยบเรื่องการทูตวัคซีน
สื่ออเมริกันยังชี้ว่าเพราะประสิทธิภาพของวัคซีนจีน รัฐบาลทั้งในอินโดนีเซียและไทยจึงตัดสินใจว่าจะต้องเปลี่ยนไปใช้วัคซีนชนิดอื่น เช่นเดียวกับวัคซีนที่จัดหาโดยสหรัฐอเมริกา อังกฤษ และรัสเซีย
ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเอเชียรายหนึ่งชี้ว่า ประเทศเหล่านี้มีทางเลือกมากขึ้น และไม่คิดว่าการหันมาสนใจวัคซีนตัวอื่นนอกจากจีนไม่ได้เกิดจากแรงจูงใจทางการเมืองแต่เพราะเห็นว่ามันใช้งานได้จริง
Photo by CHAIDEER MAHYUDDIN / AFP