posttoday

อินโดนีเซียเตรียมระงับการส่งออกน้ำมันปาล์มบางส่วน

07 กุมภาพันธ์ 2566

ทางการอินโดนีเซียจะระงับใบอนุญาตส่งออกน้ำมันปาล์มบางส่วนเพื่อรับประกันอุปทานภายในประเทศ ท่ามกลางสถานการณ์ราคาน้ำมันปรุงอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้นก่อนเทศกาลรอมฎอนที่จะมาถึงในเดือนเมษายน

Luhut Pandiaitan รัฐมนตรีอาวุโสกล่าวบนอินสตาแกรมอย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ว่า ผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มสะสมโควต้าการส่งออกสินค้าจำนวนมากเมื่อปีที่แล้วและปัจจุบันพวกเขามีแรงจูงใจเพียงเล็กน้อยในการจัดหาตลาดภายในประเทศ

อินโดนีเซียออกใบอนุญาตส่งออกน้ำมันปาล์มให้แก่บริษัทน้ำมันปาล์มที่ขายผลิตภัณฑ์ของตนให้กับตลาดภายในประเทศตามนโยบายที่เรียกว่า "'ภาระผูกพันตลาดภายในประเทศ" (Domestic Market Obligation (Domestic Market Obligation (DMO)

ปัจจุบัน DMO อนุญาตให้ส่งออกปริมาณเท่ากับหกเท่าของที่บริษัทขายภายในประเทศ Luhut ซึ่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงประสานงานกิจการทางทะเลและการลงทุนกล่าวว่า 'ผู้ส่งออกสามารถใช้สิทธิในการส่งออกเหล่านั้นได้หลังจากสถานการณ์สงบลงแล้ว'

เจ้าหน้าที่ระบุว่าโควต้าการส่งออกที่มีอยู่ประมาณหนึ่งในสามสามารถใช้ได้ในขณะนี้ ส่วนที่เหลือสามารถใช้หลังจากวันที่ 1 พฤษภาคม โดยข้อมูลล่าสุด ผู้ส่งออกถือใบอนุญาตส่งออกมูลค่าประมาณ 5.9 ล้านตัน ณ สิ้นเดือนมกราคม

ปัจจุบัน ผู้ค้าปลีกในอินโดนีเซียบ่นว่า น้ำมันปรุงอาหารราคาถูกหาซื้อยาก และพวกเขาต้องถูกบังคับให้ขายแพงกว่าราคาที่ถูกควบคุมไว้ที่ ลิตรละ 14,000 รูเปียห์ (O.93 ดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 31 บาท)

เมื่อเดือนที่แล้ว กระทรวงพาณิชย์ของอินโดนีเซีย ระบุว่าบริษัทน้ำมันปาล์มได้รับคำสั่งให้เพิ่มปริมาณการผลิตในประเทศเป็น 450,000 ตันต่อเดือนจนถึงเดือนเมษายน เพิ่มขึ้นจากประมาณ 300,000 ตันจากเดือนก่อนหน้า

ราคาอาหารมักจะปรับตัวเพิ่มขึ้นก่อนเดือนรอมฎอนของอิสลามและการเฉลิมฉลอง Eid al-Fitr ที่จะมาถึงในเดือนเมษายนปีนี้

Sahat Sinaga ประธานคณะกรรมการน้ำมันปาล์มของอินโดนีเซียกล่าวว่าบริษัทต่างๆ ได้ชะลอการส่งออกเนื่องจากราคาตลาดโลกที่ลดลงและค่าธรรมเนียมการส่งออกที่สูงขึ้น นอกจากนี้ ยังไม่มีความเร่งด่วนในการส่งออกมากนัก ทำให้บริษัทต่างๆ ไม่ได้รับผลกระทบมากนักจากราคาน้ำมันปาล์มมาตรฐานของมาเลเซียที่ปรับลดลงกว่า 40% นับตั้งแต่ปรับราคาขึ้นสูงสุดในปีทีาผ่านมา  ขณะเดียวกัน อินโดนีเซียได้กลับมาบังคับใช้ค่าธรรมเนียมการส่งออกในเดือนพฤศจิกายน

เมื่อปีที่แล้ว อินโดนีเซียประกาศห้ามการส่งออกน้ำมันปาล์มทุกชนิดตั้งแต่มาร์การีนไปจนถึงเครื่องสำอางและเชื้อเพลิงเป็นเวลาสามสัปดาห์เนื่องจากราคาน้ำมันปรุงอาหารในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้น แต่หลังจากนั้นราคาน้ำมันปาล์มได้ปรับตัวลดลงอย่างมาก เนื่องจากแนวโน้มในปัจจุบันมีความไม่แน่นอนจากราคาพลังงานที่ได้ปรับตัวสูงขึ้นและความกังวลต่อภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก