แผนพลิกโฉมไทยแลนด์ 4.0 นำคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21
การประชุมนัดแรกในการเตรียมการโครงสร้างการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อนำไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์และนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการพลิกโฉมประเทศไทยก้าวล้ำไปสู่ศตวรรษที่ 21 สาระสำคัญคือ การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ปยป.) คณะกรรมการชุดนี้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน พร้อมตั้งคณะกรรมการย่อยอีก 4 คณะ โดยนายกฯ นั่งควบเป็นประธานทุกชุด
การประชุมนัดแรกในการเตรียมการโครงสร้างการปฏิรูปประเทศและยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เพื่อนำไปสู่ไทยแลนด์ 4.0 ตามยุทธศาสตร์และนโยบายรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการพลิกโฉมประเทศไทยก้าวล้ำไปสู่ศตวรรษที่ 21 สาระสำคัญคือ การจัดตั้งคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (ปยป.) คณะกรรมการชุดนี้ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นประธาน พร้อมตั้งคณะกรรมการย่อยอีก 4 คณะ โดยนายกฯ นั่งควบเป็นประธานทุกชุด
ดังนี้ 1.คณะกรรมการเตรียมการยุทธศาสตร์ชาติ 2.คณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศ 3.คณะกรรมการเตรียมการสร้างความสามัคคีปรองดอง และ 4.คณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินเชิงยุทธศาสตร์ โดยมีการจัดตั้งสำนักงานบริหารนโยบายของนายกฯ หรือ PMDU ในการขับเคลื่อน หรือกำหนดทิศทางวาระการปฏิรูป หรือยุทธศาสตร์ชาติ ขึ้นอยู่กับคณะกรรมการชุดที่ 4 หรือที่นายกฯ เรียกว่า “มินิคาบิเน็ต”
สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ ในฐานะหัวหอกสำคัญในการขับเคลื่อนคณะกรรมการ ปยป. กล่าวว่า ในการดำเนินการปฏิรูปหรือ ยุทธศาสตร์จะเป็นไปตามเป้าหมายที่นายกฯ ได้วางไว้ เบื้องต้น 10 ประเด็นยุทธศาสตร์และนโยบายระดับบัญชาการ
ทั้งนี้ มีกลไกการบริหารจัดการดังนี้ โครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ อาทิ น้ำป่า พลังงาน สิ่งแวดล้อม โครงสร้างพื้นฐานเชิงเครือข่าย อาทิ เครือข่ายดิจิทัล เครือข่ายคมนาคมและโลจิสติกส์ โครงสร้างพื้นฐานทางปัญญา อาทิ การศึกษา การวิจัย วิทยศาสตร์เทคโนโลยี โครงสร้างพื้นฐานทางสังคม อาทิ สวัสดิการและการสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม โดยทั้งหมดจะมีกลไกภาครัฐ ประชารัฐเข้ามาสนับสนุน พร้อมกับเกิดข้อตกลงต่างๆ หรือต้องเป็นไปตามกติกาสากล และเกิดกฎหมายหรือกฎระเบียบต่างๆ ออกมาให้สอดคล้อง อาทิ ล่าสุดรัฐบาลได้ออกกฎหมายรองรับการปฏิรูปและยุทธศาสตร์ชาติคร่าวๆ 41 ฉบับ
นอกจากนี้ เป้าหมายสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติที่นายกฯ คาดหวังคือ ต้องการเตรียมการคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ด้วยการสร้างวิสาหกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม พัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมและภาคบริการ เสริมสร้างความเข้มแข็งผ่าน 18 กลุ่มจังหวัด และ 76 จังหวัด และเชื่อมประเทศไทยสู่ประชาคมโลก
สำหรับองค์ประกอบของคณะกรรมการเตรียมการปฏิรูปประเทศจะมาจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รัฐบาล สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาปฏิรูปแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ข้อเสนอทั้งหมดจากทุกภาคส่วนจะมาผ่านการกลั่นกรองจากคณะกรรมการย่อยทั้ง 4 คณะ ที่จะเข้ามากลั่นกรองว่าแต่ละวาระปฏิรูปที่เสนอซ้ำซ้อนหรือไม่ วาระปฏิรูปที่เสนอใหญ่หรือเล็กเกินไปหรือไม่ วาระปฏิรูปที่เสนอเป็นไปได้หรือไม่ เป็นต้น จนนำไปสู่การกำหนดเป็นวาระซ่อม วาระเสริม หรือวาระสร้าง
ตัวอย่างวาระการปฏิรูปที่จะเกิดขึ้น อาทิ ดังนี้ การปฏิรูประบบการจัดการศึกษา การปฏิรูประบบการคลังด้านการศึกษา การปฏิรูประบบการเรียนรู้ แผนการกีฬา การปรับเปลี่ยนทัศนคติและทักษะ การปฏิรูประบบบริการสุขภาพ การปฏิรูประบบสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกัน ควบคุมโรคและภัยคุกคาม การปฏิรูประบบการบริหารจัดการและการเงินการคลังสุขภาพ การปฏิรูประบบเพื่อรองรับสังคมสูงวัย และศิลปวัฒนธรรมเพื่อสร้างคุณค่าและมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ เป็นต้น