posttoday

ยูโร 2024 กับความพยายามลดคาร์บอนที่ยังไม่เข้าเป้า

26 มิถุนายน 2567

ยูโร 2024 คือเวทีใหญ่ที่ยูฟ่า ต้องการแสดงให้โลกเห็นว่าพวกเขาจัดการแข่งขันที่เป็นมิตรกับโลก ด้วยการตั้งเป้าลดการปล่อย คาร์บอนให้มากที่สุด แต่เหมือนว่าความตั้งใจจะไม่ถึงฝั่งเพราะทั้งนักเตะและแฟนบอลยังเดินทางด้วยเครื่องบินกันฉ่ำทั้งทัวร์นาเมนต์

หนึ่งในความท้าทายของฝ่ายจัดอยาง สหพันธ์ฟุตบอลยุโรปหรือ ยูฟ่า (UEFA) ตั้งเป้าให้ทัวร์นาเมนท์นี้เป็นกลางทางคาร์บอน หรือหากมีการปล่อยนคาร์บอนไปเท่าไหร่ก็มีวิธีใช้คืนเท่าหรือ หรือที่เรียกว่าคาร์บอน เครดิต 

นี่คือความท้าทายเรื่องความยั่งยืนในการจัดการแข่งขันกีฬาระดับโลก ซึ่งเป็นหัวข้อที่ทั่วโลกให้ความสำคัญมากขึ้นในปัจจุบัน

สำหรับยูโร 2024 ที่เริ่มมาตั้งแต่วันที่ 14 มิ.ย.67 จนถึงตอนนี้ (26 มิ.ย.) เป็นเวลาเกือบ 2 สัปดาห์ นอกจากนักฟุตบอล รวมสตาฟโค้ชหลักพันคน 24 ทีมทั่วยุโรปที่มาโม่แข้งแข่งขันกันใน 10 เมืองของเยอรมนีส่วนแฟนบอลของแต่ละทีมก็คาดว่าน่าจะมาร่วมงานนี้ประมาณ 12 ล้านคน และอีก 2.7 ล้านคนคือกลุ่มคนทั่วไปที่ไม่ใช่แฟนบอลขาประจำเดนตาย แต่มาร่วมทัวร์นาเมนต์ด้วยการรับเชิญหรือจากผู้สนับสนุน

แน่นอนเกมในสนามอาจจะสนุกตื่นเต้น แม้มีบางคู่ที่ยิงประตูกันไม่ได้ แต่โดยรวมสร้างความสนุกกับผู้เข้าชม เช่นเดียวกับผลกระทบที่ส่งไปถึงสิ่งแวดล้อมอย่างหนัก ที่เราต้องลุ้นระทึกยิ่งกว่าดูนักบอลดวลลูกโทษกันเสียอีก 

เรื่องวิกฤติสิ่งแวดล้อมเกิดเขึ้นก่อนการแข่งขันจะเริ่มต้นด้วยซ้ำ เมื่อเกิดเหตุน้ำท่วมทำให้ต้องยกเลิกแผนการจัดสวนสาธารณะสำหรับแฟนบอลในเมืองโคโลญ และมีผู้เสียชีวิต 4 รายจากเหตุน้ำท่วมในเยอรมนีตอนใต้ก่อนการแข่งขัน

ยูฟ่าตั้งเป้าจะปล่อยก๊าซคาร์บอนตลอดการแข่งขันฟุตบอลยูโร 2024 ประมาณ 490,000 ตัน ซึ่งน้อยกว่าฟุตบอลโลกในกาตาร์เมื่อสองปีก่อนที่ปล่อยไปประมาณ 3,630 ล้านตัน ยูฟ่าจะมอบเงิน 25 ยูโร หรือประมาณ 928 บาท ต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนที่เกิดขึ้น 1 ตัน เพื่อเป็นกองทุนภูมิอากาศ ให้แก่ฟุตบอลทีมชาติเยอรมนี ใช้เป็นเงินสำหรับพัฒนาด้านความยั่งยืน ซึ่งคาดว่าจะบริจาคงานทั้งหมดประมาณ 7 ล้านยูโร หรือราว 275,203,570 บาท

ยูโร 2024 กับความพยายามลดคาร์บอนที่ยังไม่เข้าเป้า
 

นอกจากนี้ ฝ่ายจัดการแข่งขันอย่าง ยูฟ่า ได้ออกมากระตุ้นทุกทีมในศึก “ยูโร 2024” รอบสุดท้าย ให้ช่วยกัน “ลด Carbon” ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของ “สภาวะโลกร้อน” ด้วยแถลงการณ์ ที่ให้ “ชาติสมาชิก” ช่วยกัน “เลือกวิธีการเดินทาง” ในระหว่างการแข่งขันฟุตบอลในทัวร์นาเมนต์ “ยูโร 2024” ด้วยการใช้ “ขนส่งสาธารณะ” ไม่ว่าจะเป็น “รถไฟ” หรือ “รถบัส” ก็ตาม แทนที่การเดินทางด้วย “เครื่องบิน”

“สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป” ระบุว่า ต้องการให้ “ศึกชิงเจ้าลูกหนังยุโรป” เป็น “ศึกยูโร” ที่ “มีความยั่งยืนที่สุดเท่าที่เคยมีมา” ด้วยการกระตุ้นให้แต่ละทีมช่วยกัน “ลด Carbon” โดยการเดินทางด้วย “รถไฟ” หรือ “รถบัส” แทนการเดินทางโดย “เครื่องบิน” ที่มีการปล่อย “ก๊าซเรือนกระจก”โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Carbon จากการเผาไหม้ของ “เชื้อเพลิงเครื่องบิน” ในระดับสูง อันเป็นสาเหตุของ “สภาวะโลกร้อน” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ใน “รอบแบ่งกลุ่ม”

ยูโร 2024 กับความพยายามลดคาร์บอนที่ยังไม่เข้าเป้า
การอ้างสิทธิ์ที่ล้ำหน้า

ในเกมฟุตบอลหากทีมใดทีมหนึ่งล้ำหน้าคือการทำผิดกติกา ต้องโมฆะเมื่อบอลเข้าประตูไป แต่กับเรื่องสิ่งแวดล้อมและอากาศที่ถูกเผาผลาญไปมันเรียกกลับมาได้ช้ามาก 

สำหรับเมกะอีเวนต์อย่างยูโรที่จะกำหนดกลยุทธ์ด้านความยั่งยืน เพื่อพยายามจัดการกับภาระด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากผู้คนจำนวนมากที่เดินทางมายังสถานที่เดียวกันในเวลาเดียวกัน

เพื่อให้เข้าใจบริบท มีรายงานว่าชาวสกอตประมาณ 200,000 คน (1 ใน 25 คนจากประชากร 5 ล้านคนของพวกเขา) ได้เดินทางไปเยอรมนี และนั่นเป็นเพียงแฟนบอลของทีมเดียวเท่านั้น นี่ไม่เพียงแต่สร้างแรงกดดันต่อการจัดหาอาหาร เครื่อดื่ม หรือ เบียร์ แต่ยังรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานและเครือข่ายการขนส่งด้วย ซึ่งไม่ได้เป็นการลดคาร์บอนตามที่ยูฟ่าตั้งใจเลย
 

กลยุทธ์ดี แต่ยุทธศาสตร์ไม่ดี

สำหรับยูโร 2024 ยูฟ่าได้พยายามอย่างมีความหมายในการลดผลกระทบด้านคาร์บอนจากผู้ชม ผู้จัดงาน และทีมต่างๆ รวมถึงการตัดสินใจอย่างมีหลักการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการของเสีย เพิ่มวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ และลดการใช้น้ำให้น้อยที่สุด

อย่างไรก็ตาม ยังคงมีคำถามมากมายที่ยังไม่ได้รับคำตอบ และเช่นเดียวกับโอลิมปิกปารีส ขนาดของงานคือ "อุปสรรคที่ใหญ่ที่สุดต่อความยั่งยืน"

เบนจา แฟคส์ ผู้ร่วมเขียนรายงาน 'Going for green' ของ Carbon Market Watch และ éclaircies ซึ่งประเมินกลยุทธ์ด้านความยั่งยืนของโอลิมปิกปีนี้อธิบายว่า: "เห็นได้ชัดว่างานใหญ่ๆ ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่สอดคล้องกับเกณฑ์อุณหภูมิ 1.5°C ตามข้อตกลงปารีส แม้ว่าเราจะชื่นชมผู้จัดงานที่ถอยออกจากการอ้างการเป็นกลางทางคาร์บอนที่ทำให้เข้าใจผิด แต่ข้อความที่เกินจริงว่า 'ยั่งยืนที่สุดเท่าที่เคยมีมา' ของผู้จัดงานยูโร 2024 ยังคงให้ความรู้สึกที่ไม่เป็นประโยชน์ว่าผลกระทบของงานต่อสภาพภูมิอากาศนั้นน้อยมาก"

ยูโร 2024 กับความพยายามลดคาร์บอนที่ยังไม่เข้าเป้า

อย่างไรก็ตาม ผู้จัดการแข่งขันสมควรได้รับเครดิตบ้างสำหรับการคิดอย่างยั่งยืน เบนจากล่าวต่อว่า "บางสิ่งที่ยูฟ่ากำลังดำเนินการดูดีบนกระดานกลยุทธ์ แต่มันจะไม่สามารถเอาชนะขนาดอันมหึมาของงานที่รวบรวมผู้ชมจำนวนมหาศาลมายังสถานที่จัดงานได้""

เมื่อระยะทางที่ห่างไกลและมีผลต่อร่างกาย เครื่องบินยังเป็นคำตอบ 

ในความพยายามที่จะลดการปล่อยมลพิษจากการขนส่ง - ซึ่งตามข้อมูลของยูฟ่า มีมากถึง 80% ของการปล่อยมลพิษทั้งหมดของการแข่งขัน - นโยบายที่เป็นที่นิยมคือการมอบบัตรโดยสารขนส่งท้องถิ่น 36 ชั่วโมงให้กับผู้ถือตั๋วแต่ละนัด รวมทั้งส่วนลดสำหรับตั๋วรถไฟระยะไกล

หากเป็นเกมฟุตบอลที่กำลังแข่งกันเวลานี้ นี่คือแท็กติกส์ที่ไม่ซับซ้อนเลยในการป้องกันและสู้กับโลกร้อน แต่กลับเป็นตัวแนวรับของตัวเอง (ยูฟ่า) ที่พลาดทำบอลเข้าประตูตัวเอง 

เพราะการเดินทางโดยเครื่องบินของนักกีฬาและแฟนบอล ยังมีกันอยู่ จากการจองเที่ยวบินไปยังเมืองต่างๆ ในเยอรมนี ที่พุ่งสูงขึ้น 39% โดยเพิ่มขึ้นกว่า 200%  เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว 

ยูโร 2024 กับความพยายามลดคาร์บอนที่ยังไม่เข้าเป้า

หากเป็นรอบแรกอาจจะพอได้เพราะเตะในเมืองที่ไม่ไกลกัน ทว่าในรอบน็อคเอาต์ เช่น รอบ 16 ทีม รอบ 8 ทีม หรือรอบรองชนะเลิศ บางทีมก็อาจจำเป็นต้องเดินทางระยะไกลด้วย “เครื่องบิน” เพราะบางเมืองห่างไกลกัน และที่ไกลกันที่สุดคือ “ฮัมบวร์ก” กับ “มิวนิค” ก็ห่างกัน 380 ไมล์

ย้อนกลับไปที่ฟุตบอลลีกทั้งในประเทศและระกดับยุโรปอย่างยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก , ยูโรปา ลีก, ยูฟ่า คอนเฟอเรนซ์ ลีก ทุกทีมเดินทางด้วยเครื่องบิน ข้อมูลเผยว่ามีนักฟุตบอลบางคนบินไกลถึง 140,000 กิโลเมตรในหนึ่งฤดูกาล ก็มาจากตารางการแข่งขันโปรแกรมที่แน่นเอี๊ยดของเกมฟุตบอลในฟัจจุบัน 

และที่น่าตกใจก็คือ มีเพียงเยอรมนี โปรตุเกส และสวิตเซอร์แลนด์เท่านั้นที่ลงนาม ว่าจะไม่เดินทางโดยเครื่องบิน

ตอนที่ยูฟ่าประกาศใหม่ๆว่าจะให้นักเตะเดินทางโดยรถไฟ ถึงกับมีการออกราคาต่อรองออกมากันเลยว่าจะนักเตะคนไหนบ้างที่ไม่ได้นั่งเครื่องบิน แต่สุดท้ายทุกอย่างเป็นศูนย์ทุกคนยังบินตามปกติ เนื่องจาก อังกฤษปักหลักฝึกซ้อมที่เมืองบลังเคนไฮน์ทางตะวันออกของเยอรมนี แต่จะบินข้ามประเทศไปทั้งเกลเซนเคียร์เชนและโคโลญเพื่อแข่งขันกับเซอร์เบียและสโลวีเนีย ทัศนคตินี้บ่อสิ่งที่เกิดขึ้นนี้ทำลายกลยุทธ์ด้านสภาพภูมิอากาศของยูฟ่าอย่างสิ้นเชิง

และเมื่อยังไม่มีกฎใดๆบังคับทุกทีมก็ยังเดินทางเหมือนปกติที่เคยทำกัน 

อย่างไรก็ตามนี่คือสิ่งที่ดีในเริ่มต้นของการลดคาร์บอน และนี่คือตัวอย่างรูปธรรมที่ชัดเจนของฝ่ายจัด

1. ออกแบบโปรแกรมการแข่งขัน และสนามกีฬาเป็นแบบโซน เพื่อช่วยลดระยะทางในการเดินทางสำหรับ “ทีมชาติ” โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “แฟนบอล”

2. ส่งเสริมให้ “ทีมชาติ” และ “แฟนบอล” เดินทางโดย “รถไฟ” และ “รถบัส” แทนการเดินทางด้วย “เครื่องบิน” โดย “ยูฟ่า” จะสนับสนุน “ตั๋วรถไฟ” ลด 25% ผ่าน Interrail ซึ่งเป็นระบบตั๋วร่วม สำหรับการเดินทางใน 33 ประเทศยุโรป

3. จัดบริการ “ขนส่งสาธารณะ” ในเมืองที่จัดการแข่งขัน และเมืองข้างเคียง เพื่อให้บริการฟรี สำหรับผู้มีตั๋วเข้าสนาม

4. ใช้พลังงานหมุนเวียนในสนามกีฬา และกองอำนวยการจัดการแข่งขัน

5. ภาชนะสำหรับใส่อาหารที่ใช้ในสนามกีฬา และพื้นที่สาธารณะสำหรับชมผ่านจอขนาดยักษ์ จะเป็นแบบใช้ซ้ำได้ทั้งหมด