posttoday

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ "การใช้กัญชาทางการแพทย์"

14 พฤศจิกายน 2561

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงจุดยืน"การใช้กัญชาทางการแพทย์" ชี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงจุดยืน"การใช้กัญชาทางการแพทย์" ชี้อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้

เมื่อวันที่ 14 พ.ย. ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกแถลงการณ์ จุดยืนของราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยเรื่อง "การใช้กัญชาทางการแพทย์ มีเนื้อหาดังนี้

อาศัยอำนาจตามความในหมวด 3 ข้อ 8 (7) แห่งข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยราชวิทยาลัยจิตแพทย์ แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2538 และมติคณะผู้บริหารราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย มีความคิดเห็นและข้อแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชาทางการแพทย์ ดังนี้

1. คุณสมบัติของกัญชา

กัญชา (marijuana) มีฤทธิ์เสพติด เป็นพืชที่มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า cannabis ซึ่ง cannabis มีหลายสายพันธุ์ ไม่ใช่เฉพาะแต่เพียงกัญชาเท่านั้น เช่น กัญชง ซึ่งเป็นพืชที่มีการน าล าต้นมาใช้ประโยชน์ ทั้งนี้ปริมาณของสาร cannabinoids ที่มีอยู่ในพืชเหล่านี้มีระดับที่แตกต่างกันตามสายพันธุ์และการเพาะปลูก สาร cannabinoids ที่มีอยู่ในกัญชามีอยู่หลายชนิด เช่น delta9-tetrahydrocannabinol (delta9-THC) และcannabidiol (CBD) เป็นต้น บางชนิดสามารถสกัดเฉพาะสารออกมาได้ หรือสังเคราะห์เองได้โดยไม่ต้องสกัดจากพืช โดยกัญชาในรูปแบบต่างๆ สามารถน ามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ในบางสาขาได้

กัญชาที่มีผู้นำมาใช้เพื่อความรื่นเริงจนบางครั้งเกิดการเสพติดนั้น มักเป็นชนิดที่มีปริมาณของสารdelta9-THC ที่สูง โดยผู้เสพดังกล่าวอาจนำส่วนต่างๆของกัญชามาทำให้แห้งเพื่อสูบ หรืออาจใช้ในรูปแบบน้ำมันซึ่งจะมีปริมาณ delta9-THC สูงกว่าปกติ โดยพบมากในต่างประเทศ

จากการศึกษาพบว่าการใช้กัญชาจะมีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง และเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้ เช่น หลงผิด หูแว่ว ประสาทหลอน อารมณ์แปรปรวน ซึมเศร้า วิตกกังวล เป็นต้น โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ตั้งแต่วัยเด็กและวัยรุ่น ปัจจุบันยังไม่มีวิธีบอกว่าใครจะมีความเสี่ยงดังกล่าวบ้าง

2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับกัญชาต่อผลทางจิตเวช

กัญชามีฤทธิ์ทำให้เสพติดได้ ซึ่งเกิดจากฤทธิ์ของสาร delta9-THC กัญชาไม่ว่าในรูปแบบใดก็ตามยังไม่มีที่ใช้ทางการรักษาโรคทางจิตเวช การใช้กัญชามีฤทธิ์รบกวนการทำงานของสมอง และอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการทางจิตเวชได้

3. คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้กัญชา

3.1 บุคคลควรใช้กัญชาหรือสารสกัดตามข้อบ่งชี้ที่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานรองรับเท่านั้น

3.2 การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผลของกัญชาทั้งประโยชน์และโทษ ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นผลของการใช้กัญชาหรือสารสกัด เช่น delta9-THC หรือ เป็นผลจากสารสังเคราะห์

3.3 บุคคลทั่วไปที่ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ไม่ควรใช้กัญชา โดยเฉพาะเด็กและเยาวชนและผู้ที่มีโรคทางจิตเวช

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ \"การใช้กัญชาทางการแพทย์\"

ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทยออกแถลงการณ์ \"การใช้กัญชาทางการแพทย์\"