posttoday

สทนช. เตือนพื้นที่ท้ายน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ระวังท่วมฉับพลัน

22 กันยายน 2567

สทนช. เตือนลำน้ำสาขาระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขงไม่ทัน พื้นที่ท้ายน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง อำเภอกุดจับ สร้างคอม เมืองอุดรธานี และอำเภอโพนพิสัย หนองคายระวังน้ำท่วมฉับพลัน

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ หรือ สทนช. สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 22 ก.ย.67 เวลา 7.00 น.

 

1.ปริมาณฝนสะสม 24 ชม. สูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ : จ.ลำปาง (125 มม.) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : จ.นครพนม (98 มม.) ภาคกลาง : จ.สุพรรณบุรี (105 มม.) ภาคตะวันออก : จ.สระแก้ว (95 มม.) ภาคตะวันตก : จ.กาญจนบุรี (66 มม.) ภาคใต้ : จ.สุราษฎร์ธานี (156 มม.)

 

สภาพอากาศวันนี้ : ร่องมรสุมกำลังค่อนข้างแรงพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบมีหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรง เคลื่อนเข้าปกคลุมบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และภาคเหนือตอนล่าง ในขณะที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ในภาคใต้ 

คาดการณ์ :.ช่วงวันที่ 23–27 ก.ย. 67 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

 

2. สถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม : ปริมาณน้ำรวม 69% ของความจุเก็บกัก (55,215 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 54% (31,030 ล้าน ลบ.ม.)  

สทนช. เตือนพื้นที่ท้ายน้ำอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง ระวังท่วมฉับพลัน

 

3. ประกาศ สทนช. ฉบับที่ 16/2567 ลงวันที่ 17 ก.ย. 67 เรื่อง เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ในช่วงวันที่ 19 - 25 ก.ย. 67 ดังนี้

3.1 พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม และบริเวณชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน บริเวณ 

จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง พะเยา แพร่ อุตรดิตถ์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เลย หนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น นครราชสีมา กาฬสินธุ์ มุกดาหาร มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ยโสธร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ชุมพร ระนอง พังงา ภูเก็ต สุราษฎร์ธานี กระบี่ นครศรีธรรมราช ตรัง และสตูล

3.2 เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80

3.3 เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ บริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของแม่น้ำสาย แม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำยม แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำเลย ห้วยหลวง แม่น้ำสงคราม แม่น้ำจันทบุรี และแม่น้ำตราด

 

4.การให้ความช่วยเหลือ : ตามที่เกิดสถานการณ์ปัญหาอุทกภัยใน จ.เชียงราย ซึ่งทำให้เกิดปัญหาระบบประปาใน อ.แม่สาย และ อ.เมืองเชียงราย ไม่สามารถจ่ายน้ำได้ ปัจจุบันสามารถจ่ายน้ำเข้าได้ครบทุกพื้นที่ แต่ยังมีพื้นที่ที่ต้องรอแรงดันน้ำในระบบเพียงพอและดันน้ำขึ้นพื้นที่โซนสูง (หมู่บ้านอาข่า หมู่บ้านผาจม บ้านป่าเหมือดโซนบน) โดยมีแผนการสูบจ่ายตรงเข้าพื้นที่ดังกล่าว และครอบคลุมทุกพื้นที่ (100%) ส่วนพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย เช่น ชุมชนเกาะทราย และชุมชนบ้านไม้ลุงขน อยู่ระหว่างเข้าสำรวจและทำการซ่อมแซมแก้ไขเพื่อเร่งจ่ายน้ำเข้าพื้นที่ดังกล่าว ในขณะที่บริเวณตลาดสายลมจอยกำลังดำเนินการเคลียร์พื้นที่ตามแนวท่อจ่ายน้ำบางส่วน และรัฐบาลได้มีนโยบายเร่งรัดให้เร่งบริการน้ำประปาให้ครบทุกพื้นที่ พร้อมทั้งบูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่เร่งแก้ไขปัญหา โดยขณะนี้การประปานครหลวงจะเข้ามาช่วยเหลือในการฟื้นฟูระบบประปาให้สามารถใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติการในวันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน 2567 

 

5. สถานการณ์น้ำท่วม :  วันที่ 21 ก.ย. 67 ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย (อ.แม่สาย และเมืองฯ) จ.พิษณุโลก (อ.พรหมพิราม บางระกำ และเมืองฯ) จ.เพชรบูรณ์ (อ.หนองไผ่) จ.หนองคาย (อ.สังคม ศรีเชียงใหม่ ท่าบ่อ เมืองฯ รัตนวาปี และโพนพิสัย) จ.หนองบัวลำภู (อ.ศรีบุญเรือง) จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.บางบาล บางปะอิน ผักไห่ พระนครศรีอยุธยา เสนา และบางไทร) และจ.สตูล (อ.ควนโดน เมืองฯ ท่าแพ มะนัง ละงู ควนกาหลง และทุ่งหว้า)