posttoday

เตือน3จังหวัดท้ายเขื่อนเจ้าพระยายกของ กรมชลฯปล่อยน้ำ2,199 ลบ.ม.

08 ตุลาคม 2567

กรมชลประทาน คงการระบายน้ำเขื่อนเจ้าพระยา 2,199 ลบ.ม/วินาที ขณะที่สถานีC2 เมืองนครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,326 ลบ.ม. เตือน3จังหวัด พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง ริม2ฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ยกของมีค่า

เมื่อวันที่ 8ตุลาคม 2567 กรมชลประทาน เปิดเผยว่า เขื่อนเจ้าพระยา ปรับการระบายน้ำเหนือไหล่ผ่าน  2,199 ลบ.ม/วินาที สถานการณ์มีแนวโน้ม ทรงตัวจากเมื่อวาน (7ตุลาคม 2567) 

สถานการณ์น้ำระดับน้ำท้ายเขื่อน ต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 1.24 ม. ส่วนที่สถานี C2 อ.เมืองนครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,326 ลบ.ม./วินาที แนวโน้ม ลดลง ระดับน้ำ ลดลงจากเมื่อวาน 8 ซม. ต่ำกว่าตลิ่งอยู่ 2.07 ม.
 
การระบายน้ำในระดับดังกล่าว เนื่องจากยังคงมีปริมาณน้ำเหนือไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ จะส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำเริ่มทรงตัวประกอบด้วย 
 

คลองโผงเผง จ.อ่างทอง , คลองบางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา 

แม่น้ำน้อยบริเวณ ต.หัวเวียง อ.เสนา ต.ลาดชิด ต.ท่าดินแดง อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา

วัดสิงห์ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี

อ.เมือง จ.สิงห์บุรี

อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี

วัดไชโย อ.ไชโย จ.อ่างทอง
 

การบริหารจัดการลุ่มเจ้าพระยา 

ปริมาณน้ำจากพื้นที่ตอนบนที่ระบายจากเขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ และแควน้อยฯ
ไหลมารวมกันที่ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณสถานีวัดน้ำ C.2 ค่ายจิรประวัติ
จ.นครสวรรค์ ปัจจุบัน 2,326 ลบ.ม./วินาที

กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำเข้าระบบชลประทานฝั่งตะวันออกและ
ฝั่งตะวันตก รวมรับน้ำ 464 ลบ.ม./วินาที แยกดังนี้

พื้นที่ฝั่งตะวันออก รับน้ำเข้าคลอง ประกอบด้วยคลองชัยนาท-ป่าสัก
(ผ่าน ปตร.มโนรมย) คลองชัยนาท-อยุธยา (ผ่าน ปตร.มหาราช) และคลองเล็กอื่น ๆ
รวม 180 ลบ.ม./วินาที

พื้นที่ฝั่งตะวันตก รับน้ำเข้าคลอง ประกอบด้วย คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง
แม่น้ำท่าจีน (ผ่าน ปตร.พลเทพ) แม่น้ำน้อย (ผ่าน ปตร.บรมธาตุ) และคลองเล็กอื่นๆ
รวม 284 ลบ.ม./วินาที

ปริมาณน้ำไหลผ่านเพื่อนเจ้าพระยาวันนี้ 2,199 ลบ.ม./วินาที ระดับเหนือเพื่อน
+17.12 บ.รกก.นอกจากนี้ เขื่อนป้าสักฯ ระบายน้ำลงสู่แม่น้ำป่าสัก100ลบ.ม./วินาที
ไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 266 ลบ.ม./วินาที ก่อนไหลมาบรรจบที่แม่น้ำเจ้าพระยา
บริเวณสถานี C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา เฉลี่ย 2,056 ลบ.ม./วินาที

ปริมาณฝนตกสะสม 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา สูงสุด 3 ลำดับ
1. อ.ธารโต จ.ยะลา ปริมาณฝน 194.0 มม.
2. อ.ตะกั่วปำ จ.พังงา ปริมาณฝน 111.3 มม.
3. อ.เมืองกระบี่ จ.กระบี่ ปริมาณฝน 109.6 มม.

ติดตามสถานการณ์ลุ่มน้ำเจ้าพระยา