posttoday

น้ำท่วมไทยรายวัน 10ต.ค.67 เดืดร้อน19จังหวัด 45,762 ครัวเรือน

10 ตุลาคม 2567

น้ำท่วม67นับตั้งแต่16ส.ค.-10ต.ค.เดือดร้อนสะสม 45จังหวัด 244,294 ครัวเรือน "สุรสีห์ กิตติมณฑล" เลขาสนทช.เผยมวลน้ำเหนือจากเชียงใหม่ถึงลำพูนมีแนวโน้มลดคาด7วันกลับสู่ภาวะปกติไม่พบความเสี่ยงพายุลูกใหม่ก่อตัวเข้าไทย

กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รายงานน้ำท่วม67 ประจำวันที่ 10 ตุลาคม 2567 มีสถานการณ์เกิดขึ้นใน19จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสรสวรรค์ สุโขทัย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี ชัยนาท สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม ครอบคลุม  72อำเภอ 348 ตำบล 1,639 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 45,762 ครัวเรือน

สถานการณ์น้ำท่วม67 ปรับเพิ่มขึ้นจากรายงานของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เมื่อ9ตุลาคม2567 ที่มีสถานการณ์เกิดขึ้นในพื้นที่19จังหวัด แต่ครอบคลุม  71 อำเภอ 343 ตำบล 1,628หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 44,524 ครัวเรือน และระหว่าง16 ส.ค. - 10 ต.ค.มีสถานการณ์น้ำท่วม67ในพื้นที่ 45 จังหวัด ครอบคลุม 278 อำเภอ 1,211 ตำบล 6,254 หมู่บ้าน บ้านเรือนได้รับผลกระทบ 244,294 ครัวเรือน ผู้เสียชีวิต52 รายและผู้บาดเจ็บ 28 ราย

 

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า ระดับน้ำในลุ่มแม่น้ำปิงที่สถานีP1
สะพานนวรัฐ เชียงใหม่ ลดลงต่ำกว่าระดับตลิ่งแล้ว โดยมวลน้ำได้ไหลไปยัง อ.สารภี และไหลไปสู่ จ.ลำพูน บริเวณ อ.เมืองลำพูน ซึ่งปัจจุบันยังมีปริมาณน้ำสูงแต่มีแนวโน้มลดลง คาดว่าจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติภายใน 7 วันนี้

นอกจากนี้ สทนช. ได้ร่วมประเมินติดตามคาดการณ์การเกิดพายุที่จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างใกล้ชิด เนื่องจากมีโอกาสที่จะเกิดพายุได้อีก 1 ลูก อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันนี้ – 20 ต.ค. 67 ยังไม่พบความเสี่ยงในการก่อตัวของพายุที่จะเคลื่อนที่เข้าสู่ประเทศไทย 

ทั้งนี้ คาดว่าในระยะนี้ปริมาณฝนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือจะลดลง โดยมีแนวโน้มที่ปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคกลาง ในช่วงวันที่ 12 – 14 ต.ค. 67 บริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา  แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร มีความเสี่ยง เกิดน้ำท่วมจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ในช่วงวันที่ 13 – 24 ต.ค. 67 ซึ่งปัจจุบันท้ายเขื่อนเจ้าพระยา มีอัตราการระบาย 2,200 ลบ.ม./วินาที 

ในการรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาให้อยู่ในระดับปัจจุบัน คือ +16.50 ม.รทก. ซึ่งลดลงจาก +17.30 ม.รทก. และทยอยลดอัตราการระบาย ในวันนี้ (10 ต.ค. 67) ในอัตรา 50 - 100 ลบ.ม./วินาที เพื่อลดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อน ตามข้อสั่งการของรองนายกรัฐมนตรี

ที่มา สำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ