posttoday

เช็คด่วน 15จังหวัด กรมอุตุนิยมวิทยาเตือน สภาพอากาศแปรปรวนวันที่3

21 ตุลาคม 2567

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ไทยมีสภาพอากาศแปรปรวนต่อเนื่องวันที่ 3 เตือน15จังหวัดเตรียมรับมือ สำนักทรัพยากรนำแห่งชาติ เจาะพื้นที่รายอำเภอ พร้อมประเมินพื้นที่เสี่ยงล่วงหน้า3วัน ให้พื้นที่8 จังหวัดเตรียมรับสถานการณ์อุทกภัย

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเรื่อง อากาศแปรปรวนบริเวณประเทศไทย ฉบับที่ 9 (232/2567)  ต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนปกคลุม ภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากทะเลจีนใต้และอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออก ในขณะที่ร่องมรสุมพาดผ่านอ่าวไทยตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน 

ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักบางแห่งกับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระมัดระวังอันตรายจากฝนฟ้าคะนอง ฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม รวมถึงดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลงไว้ด้วย
 

จังหวัดที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ มีดังนี้

วันที่ 21 ตุลาคม 2567

ภาคกลาง: 
จังหวัดกาญจนบุรี 
ราชบุรี 
พระนครศรีอยุธยา 
นครปฐม
สมุทรสาคร 
และสมุทรสงคราม

ภาคตะวันออก:
จังหวัดนครนายก 
ปราจีนบุรี 
ฉะเชิงเทรา 
ชลบุรี 
ระยอง 
จันทบุรี 
และตราด

ภาคใต้:
จังหวัดเพชรบุรี 
และประจวบคีรีขันธ์

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ส่วนอ่าวไทย
มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา http://www.tmd.go.th หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

 ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
 

สำหรับข้อมูลจากสำนักทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมขังในเขตชุมชนเมืองที่เกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำเนื่องจากระบายไม่ทัน  

  • จังหวัดนครปฐม (อำเภอเมืองนครปฐม กำแพงแสน ดอนตูม นครชัยศรี พุทธมณฑล และสามพราน) 
  • จังหวัดสมุทรสาคร (อำเภอเมืองสมุทรสาคร บ้านแพ้ว และกระทุ่มแบน) 
  • จังหวัดนนทบุรี (อำเภอเมืองนนทบุรี ปากเกร็ดบางบัวทอง และบางกรวย) 
  • จังหวัดสมุทรปราการ (อำเภอเมืองสมุทรปราการ พระสมุทรเจดีย์ พระประแดง บางพลี บางบ่อ และบางเสาธง)
  • กรุงเทพมหานคร (เขตพระนคร สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบศัตรูพ่าย บางรัก คลองสาน ทวีวัฒนา ตลิ่งชัน บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ธนบุรี บางคอแหลม สาทร ยานนาวา บางแคราษฎร์บูรณะ หนองแขม ภาษีเจริญ บางบอน จอมทอง ทุ่งครุ และบางขุนเทียน)

​​  
พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม ดังนี้

​​​​​ภาคตะวันตก 

  • จังหวัดกาญจนบุรี (อำเภอเมืองกาญจนบุรี ด่านมะขามเตี้ย พนมทวน และท่ามะกา) 
  • จังหวัดราชบุรี (อำเภอเมืองราชบุรี สวนผึ้ง จอมบึง บ้านคา โพธาราม และบ้านโป่ง) 
  • จังหวัดเพชรบุรี (อำเภอแก่งกระจาน)
  • จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (อำเภอทับสะแก บางสะพาน และบางสะพานน้อย)

​​​​​ภาคตะวันออก 

  • จังหวัดฉะเชิงเทรา (อำเภอท่าตะเกียบ และสนามชัยเขต) 
  • จังหวัดปราจีนบุรี(อำเภอเมืองปราจีนบุรี ประจันตคาม นาดี และกบินทร์บุรี) 
  • จังหวัดสระแก้ว (อำเภอเมืองสระแก้ว และอรัญประเทศ)
  • จังหวัดชลบุรี (อำเภอเมืองชลบุรี ศรีราชา บางละมุง และสัตหีบ) 
  • จังหวัดระยอง (อำเภอเมืองระยอง บ้านค่าย ปลวกแดง และนิคมพัฒนา) 
  • จังหวัดจันทบุรี (อำเภอเมืองจันทบุรี ขลุง ท่าใหม่ เขาคิชฌกูฏ และมะขาม) 
  • จังหวัดตราด (อำเภอเมืองตราด บ่อไร่ เขาสมิง คลองใหญ่ และแหลมงอบ)

​​​​​
ภาคใต้ 

  • จังหวัดชุมพร (อำเภอเมืองชุมพร สวี ทุ่งตะโก หลังสวน และพะโต๊ะ) 
  • จังหวัดระนอง(อำเภอเมืองระนอง กระบุรี ละอุ่น กะเปอร์ และสุขสำราญ) 
  • จังหวัดพังงา (อำเภอตะกั่วป่า และกะปง) 
  • จังหวัดภูเก็ต (อำเภอเมืองภูเก็ต กะทู้ และถลาง) 
  • จังหวัดสุราษฎร์ธานี (อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี กาญจนดิษฐ์ พนม บ้านนาสาร บ้านนาเดิม พุนพิน เคียนซา พระแสง ดอนสัก และเกาะสมุย) 
  • จังหวัดตรัง (อำเภอเมืองตรัง ย่านตาขาว ห้วยยอด นาโยง และวังวิเศษ) 
  • จังหวัดสตูล (อำเภอเมืองสตูล) 
  • จังหวัดนครศรีธรรมราช (อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช ปากพนัง เฉลิมพระเกียรติ พระพรหม ร่อนพิบูลย์ จุฬาภรณ์ ขนอม ทุ่งสง สิชล นบพิตำ ท่าศาลา พรหมคีรี ลานสกา เชียรใหญ่ ชะอวด และหัวไทร) 
  • จังหวัดพัทลุง (อำเภอเมืองพัทลุง และควนขนุน)
  • จังหวัดสงขลา (อำเภอเมืองสงขลา กระแสสินธุ์ ระโนด นาทวี สิงหนคร หาดใหญ่ และรัตภูมิ) 
  • จังหวัดปัตตานี (อำเภอเมืองปัตตานี แม่ลาน กะพ้อ ทุ่งยางแดง ไม้แก่น ยะรัง สายบุรี ยะหริ่ง ปะนาเระ มายอ และหนองจิก) 
  • จังหวัดยะลา (อำเภอเมืองยะลา กรงปินัง เบตง ธารโต บันนังสตา กาบัง ยะหา และรามัน) 
  • จังหวัดนราธิวาส (อำเภอเมืองนราธิวาส ศรีสาคร เจาะไอร้อง แว้ง บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ จะแนะ สุคิริน สุไหงโก-ลก สุไหงปาดี และตากใบ)

ประเมินพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยล่วงหน้า 3 วัน พบว่ามีพื้นที่เสี่ยง 8 จังหวัด  

  • จ.ตาก (อ.อุ้มผาง) 
  • จ.นครสวรรค์ (อ.แม่เปิน และชุมตาบง) 
  • จ.อุทัยธานี (อ.ทัพทัน บ้านไร่ ลานสัก สว่างอารมณ์ หนองฉาง และห้วยคต) 
  • จ.สุพรรณบุรี (อ.ด่านช้าง) 
  • จ.กาญจนบุรี (อ.ทองผาภูมิ ศรีสวัสดิ์ และหนองปรือ) 
  • จ.จันทบุรี (อ.แหลมสิงห์ และขลุง) จ.ตราด (อ.เขาสมิง และเมืองตราด) 
  • และ จ.ระนอง (อ.เมืองระนอง)