posttoday

ศาลรธน.นัดชี้ชะตาคดีถอดถอน "นายกฯเศรษฐา"ปมแต่งตั้งพิชิต14สิงหา67

24 กรกฎาคม 2567

ศาลรัฐธรรมนูญ นัดอ่านคำวินิจฉัยความเป็นรัฐมนตรี‘นายกฯเศรษฐา ทวีสิน’สิ้นสุดลงหรือไม่ปมแต่งตั้งพิชิต ชื่นบานเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 14 สิงหาคม 2567 เวลา15.00น. คู่กรณีประสงค์แถลงการณ์ปิดคดีให้ยื่น 31ก.ค.67

เมื่อวันที่ 27ก.ค.2567 สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญแจ้งว่า ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญ เรื่องพิจารณาที่ 17/2567 ประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธธรรมนูวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 วรรคสาม ประกอบมาตรา 82 ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักมายกรัฐมนตรี สิ้นสุดสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐรรมนูญ มาตรา170 วรรดหนึ่ง (4) ประกอบ มาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่

ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาปรึกษาหารือแล้วเห็นว่า คดีเป็นปัญหาข้อกฎหมายและมีพยานหลักฐาน เพียงพอที่จะพิจารณาวินิจฉัยได้ จึงยุติการไต่สวนตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 58 วรรคหนึ่ง 

หากคู่กรณีประสงค์จะแถลงการณ์ปิดคดีให้ยื่นเป็นหนังสือ ต่อศาลรัฐธรรมนูญตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธธธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 67 ประกอบข้อกำหนนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 ข้อ 24 ภายในวันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567

ส่วนคำร้องที่ผู้เกี่ยวข้องยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้รวมไว้ในสำนวนคดี ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ประชุมปรึกษาหารือ และลงมติในวันพุธที่ 14 สิงหาคม2567 เวลา 09.30 นาฬิกา นัดฟังคำวินิจจัยเวลา 15.00 นาฬิกา เป็นต้นไป ณ ห้องพิจารณาคดี ชั้น 3 ศาลรัฐธรรมนูญ ศูนย์ราชการเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 อาคารราชบุรีดิเรกฤทธิ์

เรื่องพิจารณาที่17/2567 เป็นกรณีสืบเนื่องจากสมาชิกวุฒิสภา จำนวน40 คน ยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา (ผู้ร้อง) ว่านายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ 1) ได้นำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อโปรดเกล้าแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ 2) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง ๆ ๆ ที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ผู้ถูกร้องที่ 2 ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ

 

เนื่องจากเคยถูกศาลฎีกามีคำสั่ง จำคุกเป็นเวลา 6 เดือน ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริตและมีพฤติกรรม อันเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 160 (4) และ (5) เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170วรรคหนึ่ง (4) ประกอบมาตรา 160 (4) และ (5) หรือไม่ ผู้ร้องจึงทำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจมัยดนภัฐธรรมนูญ มาตรา 170วรรคสามประกอบมาตรา 82

ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งไม่รับคำร้องเฉพาะส่วนของผู้ถูกร้องที่ 2 สำหรับกรณีของผู้ถูกร้องที่ 1มีคำสั่งรับไว้พิจารณาวินิจฉัย โดยผู้ถูกร้องที่ 1 ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญแล้ว กระทั่งมีคำสั่งนัดวินิจฉัยดังกล่าว

ที่มา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ